คุณภาพน้ำ คืออะไร จะรู้ได้ไงว่าน้ำ มีคุณภาพดีหรือไม่ดี มาดูกัน

คุณภาพของน้ำ ดูได้จากอะไร รู้ได้ไงว่าน้ำ มีคุณภาพดีหรือไม่ดี

คุณภาพน้ำ

คุณภาพน้ำ คืออะไร คุณภาพน้ำดีหรือไม่ดี ดูได้จากอะไร น้ำเป็นสิ่งสำคัญน้ำมีประโยชน์มากมายในการอุปโภคและบริโภค หากไม่มีน้ำทุกชีวิตบนโลกใบนี้คงไม่สามารถดำรงอยู่ได้ อย่างไรก็ตาม หากน้ำคุณภาพต่ำ น้ำไม่สะอาด มีสิ่งเจือปนในน้ำอาจส่งผลกระทบในทุกภาคส่วนทั้งภาคครัวเรือน ภาคการเกษตร รวมถึงภาคธุรกิจ นอกจากนั้นยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศหรือสิ่งแวดล้อมด้วย

คุณภาพน้ำ คืออะไร

คุณภาพของน้ำ คือ ความเหมาะสมของน้ำที่ใช้ทำกิจกรรมเฉพาะของมนุษย์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติจะมีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพมากหรือน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ภูมิอากาศ สภาพภูมิประเทศ ลักษณะของธรณีวิทยา พืชพรรณธรรมชาติ นอกจากนั้นคุณภาพของน้ำยังขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกด้วย คุณภาพของน้ำประกอบด้วยอะไรบ้าง

  • คุณภาพทางกายภาพ เช่น น้ำที่มีสารแขวนลอย สี กลิ่น รสชาติ ความขุ่น การนำไฟฟ้า เป็นต้น
  • คุณภาพทางเคมี เช่น ความเป็นกรดและด่าง ความกระด้าง คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน ไนเตรต แอมโมเนีย ครอไรด์ ความเค็ม ซัลเฟต ยาปราบศัตรูพืช โลหะหนัก ผงซักฟอกเป็นต้น
  • คุณภาพทางชีวภาพ คือ น้ำที่มีสิ่งมีชีวิตปนเปื้อน เช่น แพลงค์ตอนสัตว์และพืช แบคทีเรีย เชื้อโรค เป็นต้น

 

จะรู้ได้ไงว่าน้ำ มีคุณภาพดีหรือไม่ดี ต้องดูจากอะไรบ้าง

  • ความขุ่น (Turbidity)

ความขุ่น (Turbidity) เกิดจากน้ำมีสิ่งแขวนลอยที่ไปขัดขวางการเดินแสงที่ผ่านน้ำ น้ำที่มีสารแขวนลอย ยกตัวอย่างเช่น อินทรีสารหรือดินละเอียด แพลงค์ตอนหรืออาจเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจำนวนมากที่อยู่แบบกระจัดกระจายไปทั่วและดูดซึมแสงไม่ยอมปล่อยให้แสงผ่านเป็นเส้นตรง อ้างอิงจากข้อกำหนดมาตรฐานน้ำดื่มขององค์การ อนามัยโลก ความขุ่นสูงสุดที่มีได้ 5 เจ ที ยู ระดับสูงสุดที่ยอมให้มีคือ 25

  • สีของน้ำ (Color of water)

สีของน้ำ (Color of water) เป็นอีกตัวชี้วัดคุณภาพของน้ำ โดยสีของน้ำตามธรรมชาติรวมถึงคุณภาพน้ำประปาความขุ่นมาจากการที่น้ำไหลผ่านสารอนินทรีย์และสารอินทรีย์ ยกตัวอย่างเช่น ใบหญ้า ใบไม้ ซากพืช ซากสัตว์ มีลิกนิกเป็นส่วนประกอบเมื่อเกิดการสลายตัวให้สารแทนนิน กรดฮิวเมตและกรดฮิวมิคซึ่งเป็นสารมีสีจากอีออนของโลหะในน้ำ ยกตัวอย่างเช่น เหล็กแมงกานีสจากแพลงค์ตอน หรือจากการปะปนของน้ำปล่อยทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม สีของน้ำจากธรรมชาตินั้นมีค่าตั้งแต่ 1-200 หน่วยมาตรฐาน

  • ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ (TDS)

ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ (TDS) หรือของแข็งทั้งหมดในน้ำ หมายถึง ของแข็งที่มีสถานะเป็นสารแขวนลอย suspended solid ตะกอน ทั้งนี้สารที่สามารถละลายน้ำได้ส่วนมากเป็นเกลืออนินทรีย์ มีก๊าซและอินทรีย์สารน้อย หลังจากการระเหยไปแล้วสารที่เหลืออยู่เป็นตะกอน แหล่งน้ำตามธรรมชาติโดยทั่วไปจะมีค่าของแข็งทั้งหมดในน้ำอยู่ระหว่าง 0-500 มิลลิกรัมต่อลิตร สำหรับมาตรฐานน้ำดื่มหรือคุณภาพน้ำดื่มที่ดีขององค์การอนามัยโลก ปริมาณของแข็งทั้งหมดในน้ำสูงสุดที่ควรมีได้ 500 มิลลิกรัมต่อลิตร และสูงสุดที่ยอมรับได้อยู่ที่ 1,500 มิลลิกรัมต่อลิตร

  • ค่า pH

ค่า pH หรือ ค่าความเป็นกรดและด่างของน้ำ ค่าพีเอชมีตั้งแต่ 0-14 หากค่าเท่ากับ 7 หมายถึงมีค่าเป็นกลาง สำหรับค่าพีเอชที่น้อยกว่า 7 หมายถึงความเป็นกรดส่วนค่าที่มากกว่า 7 หมายถึงความเป็นด่าง ค่าพีเอชจึงเป็นตัวบ่งชี้สำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของน้ำ ดังนั้น ถ้าค่าพีเอชสูงหรือต่ำเกินไปบ่งบอกถึงอันตรายต่อการใช้น้ำ ถ้าหากน้ำมีค่าความเป็นกรด-ด่างสูงทำให้น้ำมีรสขม อุปกรณ์หรือท่อน้ำจะมีคราบสกปรกส่งผลต่อประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนลดลง น้ำที่มีค่าพีเอชต่ำหรือเป็นกรดจะทำให้เกิดการกัดกร่อนหรือละลายโลหะและสารอื่นๆ คุณภาพน้ําดื่มกระทรวงสาธารณสุข หรือมาตรฐานค่าความเป็นกรดและด่างของน้ำในประเทศไทยอยู่ในช่วง 6.5-8.5 สำหรับคุณภาพน้ำเพื่อการเกษตร pH น้ำที่เหมาะสม คือ 5.5-6.5

  • ความกระด้างของน้ำ (Water Hardness)

ความกระด้างของน้ำ (Water Hardness) หมายถึง ปริมาณแมกนีเซียมและแคลเซียมที่ละลายในน้ำ หากน้ำมีความกระด้างจะมีแร่ธาตุละลายในน้ำสูง โดยส่วนใหญ่จะเป็นแมกนีเซียมและแคลเซียม น้ำที่มีความกระด้างเมื่อล้างมือด้วยสบู่เราสังเกตได้เลยว่าเหมือนมีฟิล์มหลงเหลืออยู่บนมือ แม้ว่าแมกนีเซียมและแคลเซียมจะมีความจำเป็นต่อร่างกายของคนเราแต่ถ้าแร่ธาตุเหล่านี้มีสูงมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ความกระด้างของน้ำเกิดจากอะไร น้ำกระด้างส่วนใหญ่มาจากแหล่งน้ำในธรรมชาติ น้ำบาดาล ทะเลสาบหรือน้ำจากผิวดิน แร่ธาตุที่ละลายในน้ำรวมถึงตะกอนอาจทำให้น้ำมีความกระด้างได้

  • ออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved oxygen DO)

ออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved oxygen DO) หมายถึง ปริมาณของออกซิเจนในน้ำสามารถใช้บ่งบอกคุณภาพของน้ำได้ โดยใช้เป็นตัวแปรสำคัญในการวัดคุณภาพของน้ำ ออกซิเจนในน้ำมีอิทธิภาพต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยภายในแหล่งน้ำ ออกซิเจนที่ละลายในน้ำหากมีสูงหรือต่ำเกินไปอาจส่งผลกระทบหรือมีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำได้ โดยทั่วไปสัตว์น้ำต้องการความเข้มข้นของออกซิเจนละลายน้ำ 5.0 มก./ลิตร อาจมากกว่านั้นหรือน้อยกว่าขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์น้ำด้วย

  • Biochemical oxygen demand (BOD)

Biochemical oxygen demand (BOD) คือ ความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมีหรือความต้องการออกซิเจนทางชีวภาพ พารามิเตอร์สำคัญในการบำบัดน้ำ ค่าที่แสดงปริมาณออกซิเจนที่พวกจุลินทรีย์ แบคทีเรีย ฯลฯ กินเข้าไป ในขณะที่พวกมันย่อยสลายอินทรียวัตถุภายใต้สภาวะอุณหภูมิที่กำหนด โดยเป็นดัชนีความต้องการออกซิเจนในน้ำเสีย BOD ใช้เพื่อวัดผลกระทบของน้ำในระยะสั้น

  • Chemical oxygen demand (DOD)

Chemical oxygen demand (DOD) คือ ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ทำให้สารปนเปื้อนในน้ำ เช่น สารอินทรีย์ออกซิไดซ์ทางเคมีไปยังผลิตภัณฑ์ขั้นตอนสุดท้ายที่เป็นอนินทรีย์ โดยค่านี้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของน้ำหรือน้ำเสีย นิยมใช้ค่า COD เพื่อติดตามตามประสิทธิภาพการบำบัดน้ำของโรงงานอุตสาหกรรม

คุณภาพของน้ำคืออะไร น้ำมีคุณภาพดีหรือไม่นั้นดูได้จากอะไร ทั้งหมดนี้เป็นสาระความรู้ดีๆ ที่เราเอามาฝาก สำหรับผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพน้ำประปาสามารถเข้าไปตรวจเช็คคุณภาพน้ำประปาออนไลน์ ได้ที่แอปพลิเคชัน MWA เพราะน้ำคือชีวิต น้ำให้ชีวิตในขณะเดียวกันน้ำก็สามารถทำลายชีวิตได้ น้ำเน่าเสียน้ำไม่มีคุณภาพมีสิ่งเจือปน สารเคมี สารพิษอันตรายทำให้ระบบนิเวศเสียสมดุล สิ่งแวดล้อมได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะการดื่มน้ำที่ไม่สะอาด ไม่ผ่านการกรองอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์ได้

รับติดตั้งเครื่องกรองน้ำอุตสาหกรรม RO บริการติดตั้งเครื่องกรองน้ำอุตสาหกรรม RO (Reverse Osmosis) เรามีโรงงานประกอบเอง โดยมิตรวอเตอร์ "เพื่อนของน้ำ เพื่อนของคุณ"
ดูเพิ่มเติม ติดต่อเรา