น้ำ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ๆ ต่อสิ่งมีชีวิต ต้องใช้ทั้งอุปโภค บริโภค ทำให้ต้องมีการบำบัดน้ำเสียก่อนนำไปใช้งาน เพื่อความปลอดภัย ยิ่งเป็นคอนโดหลายคนอาจจะพบปัญหาน้ำไหลช้า น้ำไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อีกทั้งยังมีปัญหาน้ำอีกมากมาย ดังนั้นบทความนี้จะพาไปรู้จักกับระบบบำบัดน้ำเสียคอนโดให้มากขึ้น พร้อมกับบอกขั้นตอนระบบบำบัดน้ำเสียในคอนโด และเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการระบบบำบัดน้ำเสียในคอนโด จะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย ระบบบำบัดน้ำเสียคอนโด ระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จะต้องมีการบำบัดน้ำเสียที่มาจากห้องส้วมของสมาชิกในคอนโดนั้น ๆ และต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดโดยเฉพาะ เพื่อบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้กลายเป็นน้ำดี ก่อนจะปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะ ไม่ให้เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม โดยระบบบำบัดน้ำเสียคอนโดทุก ๆ แห่ง จะใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ เติมอากาศลงไปในบ่อบำบัดน้ำเสีย ทำให้ปริมาณออกซิเจนมากพอที่จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนไปใช้ในการขยายตัวและย่อยสลายของเสียต่าง ๆ ในน้ำเสีย ขั้นตอนระบบบำบัดน้ำเสียในคอนโด สำหรับขั้นตอนของระบบบำบัดน้ำเสียในคอนโดแบบเติมอากาศ (AS) ทั่ว ๆ ไป หลัก ๆ จะมีอยู่ด้วยกันอย่างน้อย 3 บ่อขึ้นไป ได้แก่ แต่บ่อที่ขาดไม่ได้ในการทำระบบบำบัดน้ำเสียในคอนโด ก็คือ บ่อเติมอากาศ เพราะเป็นจุดสำคัญของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ซึ่งควรติดตั้งเครื่องเติมอากาศตั้งแต่บ่อที่ 2 เป็นต้นไป สามารถเติมอากาศมากกว่า 1 บ่อได้ […]
Category Archives: สาระน่ารู้
อาคารสูง คือ อาคารที่มีบุคคลอาศัยหรือเข้าใช้สอยที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า เช่น โรงแรม อพาร์ทเมนต์ คอนโด ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนที่พักอาศัยอยู่ในอาคารสูงก็คงจะเคยพบเจอกับปัญหาคุณภาพน้ำมาบ้างแล้ว ดังนั้นในบทความนี้จะพาไปรู้จักกับแนวทางการจัดการคุณภาพน้ำในอาคารสูง ระบบปั๊มน้ำและระบบน้ำประปาในอาคารสูงว่ามีอะไรบ้าง แนวทางการจัดการคุณภาพน้ำในอาคารสูง 1.สำรวจสถานที่ตั้งของถังสำรองน้ำ ทำการสำรวจสถานที่ตั้งของถังน้ำสำรอง ซึ่งต้องเป็นพื้นที่ที่มีหลังคาคลุม มีขอบเขตที่ชัดเจน ที่ตั้งถังสำรองต้องสะอาด ไม่มีน้ำขัง สิ่งของไม่วางเกะกะ รกรุงรัง สามารถป้องกันสัตว์นำโรคต่าง ๆ ไม่ให้เข้าไปอาศัย เช่น หมา แมว นก หนู หรือสัตว์เลื้อยคลาน อีกทั้งไม่ถังน้ำสำรองที่ดี ไม่ควรว่างตั้งกับพื้นโดยตรง ควรวางยกระดับขึ้นมาประมาณ 15 เซนติเมตร และมีแสงสว่างที่เพียงพอที่ทำให้เห็นสิ่งผิดปกติภายในถังน้ำสำรองได้ รวมถึงต้องมีการป้องกันไม่ให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณที่ตั้งถังน้ำสำรองด้วย 2.เลือกและดูแลตัวถังน้ำสำรอง สำหรับแนวทางการจัดการคุณภาพน้ำในอาคารสูง ต้องเลือกและดูแลถังสำรองน้ำอยู่เสมอ ตัวถังต้องทำมาจากวัสดุที่ปลอดภัย เหมาะสำหรับบรรจุน้ำ เช่น ถังสแตนเลสไฟเบอร์กลาส พลาสติก เป็นต้น ซึ่งสภาพถังน้ำต้องสะอาด ไม่ชำรุด แตกร้าว และต้องมีฝาปิดให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด พร้อมใช้งานตลอดเวลา นอกจากนี้ก็ควรจะมีช่องสำหรับระบายน้ำทิ้งด้านล่างสุด เพื่อความสะดวก สบาย […]
น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นน้ำทิ้งที่เต็มไปด้วยสิ่งสกปรก ของเสีย และสารเคมีต่าง ๆ เจือปนอยู่ด้วยมากมาย ซึ่งแต่ละโรงงานอุตสาหกรรมก็จะมีสิ่งปฏิกูลที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทของอุตสาหกรรมนั้นๆ เมื่อต้องการปล่อยน้ำจากโรงงานอุตสาหกรรมทิ้ง จึงไม่สามารถปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้เลย จำเป็นต้องนำไปปรับสภาพให้น้ำสะอาดมากขึ้น เพื่อป้องกันน้ำเสียสู่สาธารณะ และเป็นปัญหาใหญ่ตามมาในภายหลัง ตามข้อบังคับของกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้กำหนดเอาไว้ว่า “น้ำเสียที่ปล่อยสู่ธรรมชาติจะต้องมีอุณหภูมิไม่เกิน 40 ํC และมีค่า BOD ไม่เกิน 20 mg/L ขึ้นอยู่กับประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม” โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ เอกสารประกาศจากกระทรงอุตสาหกรรมเรื่องค่ามาตรฐานน้ำโรงงาน เอกสารประกาศจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กําหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการอุตสาหกรรม ออกแบบการบำบัดน้ำเสียให้ตรงกับมาตรฐานน้ำทิ้งโรงงาน ด้วยบริษัทที่ได้มาตรฐาน สำหรับการออกแบบการบำบัดน้ำเสียให้ตรงกับมาตรฐานน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม ต้องใช้ข้อมูลในการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียด้วยกันทั้งหมด 3 ข้อ คือ การหาปริมาณน้ำเสียให้ชัด ตรวจสอบคุณภาพของน้ำเสีย และการจัดการพื้นที่ในระบบบำบัดน้ำเสียให้คุ้มค่า ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1.หาปริมาณน้ำเสียให้ชัดเจน การหาปริมาณน้ำเสียให้ชัดเจน ถือเป็นอันดับแรกในการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเราต้องทราบปริมาณน้ำเสียที่ปล่อยออกมาก่อนว่ามีจำนวนเท่าไหร่ จะได้สามารถนำข้อมูลไปออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียให้ตรงกับปริมาณที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละวัน ปกติน้ำเสียมาจาก 2 แหล่ง คือ น้ำเสียที่เกิดจากห้องน้ำ และน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีวิธีการคิดที่ต่างกัน ดังนี้ 2.ตรวจสอบคุณภาพของน้ำเสีย […]
น้ำเสียคืออะไร น้ำเสีย คือ น้ำที่ได้รับผลกระทบในด้านคุณภาพจากอิทธิพลของมนุษย์ เป็นน้ำที่มีสิ่งสกปรกเจือปนอยู่มากมายในปริมาณมาก จนเป็นน้ำที่ไม่ต้องการและน่ารังเกียจสำหรับคนทั่วไป หรือคุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงได้จนอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น มีส่วนผสมของน้ำมัน ผงซักฟอก สบู่ ยาฆ่าแมลง ฯลฯ ซึ่งน้ำเสียที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ มีสาเหตุมาจากหลายๆ แห่ง ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียที่เกิดจากชุมชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากการเกษตร บทความนี้จึงจะพาคุณไปทำความรู้จักกับน้ำเสียให้มากขึ้น พร้อมกับบอกลักษณะของน้ำเสีย และความสำคัญของการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยน้ำทิ้งสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จะมีความสำคัญอย่างไร ตามมาดูกันเลย น้ำเสียมาจากไหน น้ำเสียจากชุมชน น้ำเสียจากชุมชน คือ น้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมประจำวันและเป็นกิจกรรมที่เป็นอาชีพของประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในชุมชน เช่น น้ำเสียที่เกิดขึ้นจากการประกอบอาหาร การล้างสิ่งสกปรกภายในครัวเรือน และอาคาร ร้านค้าพาณิชย์กรรม ตลาดสด สถานที่ราชการ โรงแรม โรงเรียน รวมถึงห้างสรรพสินค้า เป็นต้น น้ำเสียจากอุตสาหกรรม สำหรับน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิตทางอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำล้างในกระบวนการผลิตต่างๆ ทั้งน้ำหล่อเย็นที่มีความร้อนสูง และน้ำเสียจากห้องน้ำของคนงาน และถึงแม้ว่าน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมจะมีปริมาณไม่มาก แต่สิ่งสกปรกที่ผสม เจือปนอยู่ในน้ำเสียประเภทนี้มักเป็นพวกสารเคมีที่เป็นพิษ และพวกโลหะหนัก สารอินทรีย์ต่างๆ ที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นน้ำเสียที่อันตราย ไม่สามารถปล่อยออกสู่แหล่งรับน้ำธรรมชาติได้ จำเป็นต้องนำไปเข้าสู่กระบวนการบำบัด […]
น้ำเสียจากอาคาร คือ น้ำเสียที่เกิดขึ้นจากการใช้น้ำในการอุปโภค บริโภคของผู้ที่อาศัยในอาคาร หรือเกิดขึ้นจากการปนเปื้อนจากกิจกรรมต่าง ๆ ในอาคาร
สำหรับการทำระบบบำบัดน้ำเสีย สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกก็คือ การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์และคำนวณปัจจัยต่างๆ
ระบบบำบัดน้ำเสีย MBR ย่อมาจาก Membrane Bioreactor คือ นวัตกรรมในการบำบัดน้ำเสียที่ถูกพัฒนามาจากระบบบำบัดน้ำเสีย CAS เป็นการผสมผสานระหว่างการใช้จุลินทรีย์กำจัดของเสียที่ละลายในน้ำ และการกรองผ่านเยื่อเมมเบรนที่มีรูขนาดเล็ก เพื่อแยกเอาของเสียที่เป็นตะกอนออกจากน้ำเสีย ซึ่งขนาดในการกรองต้องไม่เกิน 1 ใน 5,000 ส่วนของมิลลิเมตร ทำให้น้ำที่ได้ใสสะอาดมากขึ้น และใช้เวลาในการบำบัดน้ำเสียรวดเร็วกว่าปกติ และยังทำให้ระบบน้ำมีขนาดเล็กลง แต่ยังคงได้น้ำทิ้งคุณภาพสูง ที่สามารถนำกลับไปใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง เรียกได้ว่าเป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสำหรับน้ำเสียชุมชนและน้ำเสียอุตสาหกรรมมากๆ และสำหรับใครที่สงสัยว่าระบบบำบัดน้ำเสีย MBR คืออะไร บทความนี้ได้รวบรวมคำตอบไว้หมดแล้วว่าทำไมจึงต้องทำระบบบำบัดน้ำเสีย MBR มีขั้นตอนการทำงานและมีข้อดีอะไร มาดูกันเลย ทำไมต้อง MBR ขั้นตอนการทำงานของ MBR 1.Inlet Feed Tank สำหรับขั้นตอนแรกของการทำงานระบบบำบัดน้ำเสีย MBR สิ่งที่จำเป็นมากๆ ก็คือ Inlet Feed Tank หรือถังสำหรับพักน้ำเสียที่หลายคนรู้จัก เป็นถังที่ทำหน้าพักน้ำเสียเอาไว้ตามชื่อเรียก จากนั้นก็จะส่งน้ำเสียที่เก็บไปบำบัดในขั้นตอนต่อไปในถังเติมอากาศ เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ 2.Aeration Tank ในขั้นตอน Aeration Tank (ถังเติมอากาศ) เป็นถังที่ใช้เติมอากาศเข้าไปในน้ำ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในกระบวนการตกตะกอนแบบเร่ง […]
ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นระบบที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกที่เจือปนอยู่ในน้ำที่เกิดจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้น้ำมีสภาพที่ดีขึ้น ก่อนจะปล่อยสู่ธรรมชาติ โดยไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมาภายหลัง ทำให้การทำระบบบำบัดน้ำเสียเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อโรงงานอุตสาหกรรมมากๆ บทความนี้จึงจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ 3 ระบบบำบัดน้ำเสียให้มากขึ้นว่าใช้ต่างกันอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ 3 ระบบบำบัดน้ำเสีย ใช้ต่างกันอย่างอย่างไร 1.ระบบบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานทางกายภาพ เป็นการบำบัดน้ำเสียที่ต้องใช้แรงงานคนและเครื่องจักรในการแยกขยะหรือสารแขวนลอยต่างๆ ที่สามารถดักจับออกจากน้ำได้ เช่น กรวด ทราย เศษไม้ เศษกระดาษ คอนกรีต ไขมัน โคลน น้ำแป้งมัน ฯลฯ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ 1.1. การดักด้วยตะแกรง : จะใช้ตะแกรงในการดักจับเศษขยะที่ไหลมากับน้ำเสีย ป้องกันไม่ให้เศษขยะไหลเข้าไปติดกับเครื่องจักร ซึ่งการใช้ตะแกรงดักขยะ ควรเลือกใช้ขนาดที่เหมาะสม เช่น ตะแกรงแบบหยาบใช้ดักขยะที่มีขนาด 25 มม. ขึ้นไป ตะแกรงแบบละเอียดใช้ดักเศษขยะที่มีขนาดระหว่าง 2-6 มม. 1.2. การกำจัดตะกอนหนัก : การกำจัดตะกอนหนัก เป็นการกำจัดสิ่งเจือปนที่ไม่สามารถลอยตามน้ำได้ เช่น ก้อนกรวด หิน ดิน ทราย โลหะต่างๆ […]
น้ำประปา คือ น้ำจากระบบผลิตน้ำประปา ที่นำน้ำจากแหล่งธรรมชาติ เช่น น้ำผิวดิน น้ำบาดาล คลอง บึง ฯลฯ มาเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำประปา ทำให้น้ำที่สกปรกกลับมาสะอาดอีกครั้ง สามารถนำไปใช้งานได้อย่างปลอดภัย ใช้งานได้ทั้งอุปโภค บริโภค แต่สำหรับในประเทศไทย น้ำประปาไม่สามารถนำไปดื่มได้อย่างปลอดภัย เหมือนกับต่างประเทศ เพราะมีกลิ่นสารคลอรีนและเชื้อโรคผสมอยู่จำนวนไม่น้อย หากดื่มเข้าไปจะส่งผลเสียต่อร่างกายในภายหลัง ซึ่งน้ำถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างมาก ต้องใช้ในการดำรงชีวิตในทุกๆ วัน และหลายคนก็คงจะเคยได้ยินมาบ้างแล้วว่า น้ำประปาของต่างประเทศนั้นสามารถใช้ดื่มได้ และอาจมีอีกหลายคนที่กำลังสงสัยอยู่ไม่น้อย ว่าทำไมน้ำของประเทศไทยไม่สามารถใช้ดื่มได้อย่างต่างประเทศ บทความนี้ได้รวบรวมคำตอบไว้หมดแล้ว!! ทำไมน้ำประปาไทยดื่มไม่ได้ 1.กลิ่นสารคลอรีน เชื่อว่าทุกคนที่ใช้น้ำประปากันอยู่ในปัจจุบันนี้ จะต้องเคยดมกลิ่นของน้ำประปากันมาบ้างแล้ว ก็จะรู้ว่ามีการใส่สารคลอรีนลงไปในน้ำประปาก็เพื่อช่วยกำจัดเชื้อโรคต่างๆ ที่เจือปนอยู่ในน้ำ ซึ่งน้ำประปาของไทยนั้น มีกลิ่นของสารคลอรีนที่ชัดเจนมาก ทำให้ไม่สามารถใช้ดื่มได้ หากใช้ดื่มแน่นอนว่านอกจากจะเหม็นกลิ่นคลอรีนแล้วก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ดื่มด้วยเช่นกัน 2.เชื้อโรคและสิ่งสกปรก ถึงแม้ว่าน้ำประปาของไทยจะผ่านการฆ่าเชื้อโรคด้วยสารคลอรีนมาแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าน้ำจะสะอาดจนสามารถใช้ดื่มได้ เพราะนอกจากจะมีกลิ่นของคลอรีนแล้ว ก็ยังมีเชื้อโรคและสิ่งสกปรกที่เกาะอยู่ตามท่อส่งและหัวก๊อกน้ำด้วย หากใช้หัวก๊อกที่ไม่ได้คุณภาพ ก็จะทำให้เกิดการกัดกร่อนสีเคลือบต่างๆ ให้ละลายลงมาเจือปนกันน้ำ สรุป สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้น้ำประปาในไทยไม่สามารถดื่มได้ มาจากการขนส่งน้ำผ่านท่อน้ำที่เก่า ความดันน้ำไม่พอ ท่อไม่สะอาด เป็นสนิม ท่อไม่ได้มาตรฐานทุกท่อหรือท่อที่เกิดการผุพัง ทำให้มีสิ่งสกปรกเจือปนระหว่างถูกจ่ายไปยังที่ต่างๆ […]
น้ำบาดาล คือ แหล่งน้ำจากธรรมชาติเป็นน้ำใต้ดินที่ถูกเก็บสะสมไว้ภายในช่องวางหรือรอยแยกของชั้นหินและชั้นดิน เป็นน้ำที่อยู่ใต้ดินลึกลงไปหลายเมตรในบางพื้นที่อาจลึกลงไปหลายกิโลเมตร ซึ่งน้ำบาดาลนั้นเป็นน้ำที่มีการไหลผ่านชั้นดินหลายชั้น ทำให้มีแร่ธาตุเจือปนอยู่ปริมาณมาก บางทีก็เกิดเป็นน้ำกร่อย น้ำบาดาลจึงเป็นน้ำที่ไม่สามารถนำมาใช้งานแบบยังไม่ผ่านการกรอง บำบัด หรือปรับสภาพก่อนได้ เพราะแร่ธาตุที่เจือปนอยู่ในน้ำอาจทำให้เกิดอันตรายหรือส่งเสียต่อร่างกายได้ ซึ่งในบทความนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับน้ำบาดาลให้มากขึ้นว่ามีกี่ระดับ แบ่งออกเป็นกี่โซน พร้อมกับบอกวิธีทำให้สามารถใช้งานน้ำบาดาลในการอุปโภค บริโภค ได้อย่างปลอดภัย จะเป็นอย่างไรบ้างมาดูกันเลย แบ่งระดับน้ำบาดาลได้ 3 โซน ได้แก่ การใช้น้ำบาดาลให้ปลอดภัย ทำอย่างไร ให้อุปโภค บริโภคได้ 1.สูบน้ำบาดาลมาเก็บไว้ในบ่อพัก ก่อนการกรองน้ำบาดาล จะต้องสูบน้ำบาดาลขึ้นมาเก็บพักไว้ในบ่อพักน้ำ ซึ่งถังพักน้ำบาดาลจะมีการติดตั้งปั๊มน้ำไว้ เพื่อใช้สำหรับฟีดสารคลอรีนเข้าไปช่วยฆ่าเชื้อโรคและสิ่งสกปรกต่างๆ ที่เจือปนอยู่ในน้ำบาดาล 2.กรองน้ำบาดาลที่ฆ่าเชื้อแล้ว หลังจากฆ่าเชื้อน้ำบาดาลเรียบร้อยแล้ว ให้นำน้ำบาดาลที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคเข้าสู่ถังกรองน้ำบาดาล โดยวิธีการกรองน้ำบาดาลผ่านถังกรองที่มีปั๊มแรงดันทั้งหมด 4 ใบ ได้แก่ ถังกรองความขุ่น ถังกรองสนิมเหล็ก ถังกรองเรซิ่น ถังกรองกลิ่น สี และสารเคมี 3.กรองความขุ่นน้ำบาดาล น้ำบาดาลในตอนแรกไม่ได้มีสีที่ใสและสะอาดสักเท่าไหร่ บางครั้งอาจมีสีที่ขุ่นเหมือนน้ำคลอง หรืออาจมีสีส้มๆ แดงๆ ซึ่งแน่นอนว่าไม่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างปลอดภัย จึงต้องกรองเอาความขุ่นของน้ำบาดาลออกก่อน 4.กรองสนิมเหล็กน้ำบาดาล น้ำบาดาลจะมีตะกอนของเหล็กละลายผสมอยู่ในน้ำด้วย เมื่อสูบน้ำขึ้นมาใช้ก็จะมีสนิมเหล็กขึ้นมาด้วย จึงจำเป็นที่จะต้องกรองเอาสนิมเหล็กออกก่อน […]