น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต และมีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางชีวภาพ การนำน้ำไปใช้ในอุตสาหกรรม และภายในบ้านเรือน ๆ ต่าง ๆ ซึ่งชนิดของน้ำก็มีหลายประเภท น้ำแต่ละประเภทนี้ก็มีองค์ประกอบ มีแหล่งที่มา แหล่งที่อยู่แตกต่างกันไป วันนี้เราจะมาแนะนำให้คุณได้ทำความรู้จักกับชนิดของน้ำกัน
ชนิดของน้ำ มีกี่ชนิด และมีแบบไหนบ้าง
น้ำสามารถจำแนกได้หลายประเภทตามเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้มีการนำน้ำไปใช้ในอุตสาหกรรมและการเกษตรอย่างแพร่หลาย และน้ำยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด โดยการแบ่งชนิดของน้ำ สามารถแบ่งออกเป็น “น้ำธรรมชาติ” และ “น้ำที่ผ่านการปรับสภาพแล้ว” โดยมีคดีและคุณสมบัติจุดเด่นที่แตกต่างกันไป
ชนิดของน้ำตามธรรมชาติ
1.น้ำบาดาล
ระบบน้ำบาดาล คือ น้ำที่มีการสะสมอยู่ภายในบริเวณชั้นหินที่อยู่ลึกลงไปใต้ดิน ซึ่งจะต้องทำการเจาะถึงจะเจอน้ำชนิดนี้ มักมีอุณหภูมิคงตัวสม่ำเสมอ
- ข้อดี: เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่ขุดจากใต้ดินขึ้นมาใช้งาน ลดการพึ่งพาน้ำประปา เหมาะสำหรับการทำอุตสาหรรม การทำการเกษตรที่ต้องใช้น้ำจำนวนมาก
- ข้อควรระวัง: ด้วยความที่ผ่านชั้นดิน ชั้นหิน ลงมาหลายชั้นจนกว่าจะกลายเป็นน้ำที่สะสมอยู่ใต้ดิน อาจจะทำให้มีการปนเปื้อนบ้าง แต่ถึงกระนั้นก็มีเทคโนโลยีการกรองเข้ามาช่วยในการจัดการน้ำบาดาลอยู่ ด้วย ระบบกรองน้ำบาดาล
2.น้ำผิวดิน
เป็นแหล่งน้ำที่เข้าถึงได้ง่าย เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ
- ข้อดี: เป็นแหล่งน้ำที่พบเห็นได้ด้วยตาเปล่า และสามารถตัดน้ำมาใช้งานได้แบบสะดวก ไม่ต้องเจาะลงไปใต้ชั้นดิน
- ข้อควรระวัง: อาจเป็นแหล่งสะสมมลภาวะโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการปล่อยทิ้งน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และจำเป็นต้องได้รับการบำบัดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน และยังเสี่ยงต่อภัยแล้งและการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล
3.น้ำฝน
อีกหนึ่งแหล่งน้ำจากธรรมชาติ เป็นน้ำที่มีแร่ธาตุน้อยที่สุด
- ข้อดี: สามารถวางแผนจัดเก็บรองรับน้ำฝนเพื่อนำไปใช้งานได้ ทดแทนความต้องการการใช้งานแหล่งน้ำแบบดั้งเดิม
- ข้อควรระวัง: คุณภาพของน้ำฝนอาจได้รับอิทธิพลจากมลพิษทางอากาศ โดยทั่วไปจะไม่ใช้เป็นแหล่งน้ำดื่มหลักหากไม่มีการบำบัดที่เหมาะสม
4.น้ำประปา
ระบบน้ำประปา สะดวกและพร้อมใช้งานในบ้านและธุรกิจต่าง ๆ ได้รับการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสุขภาพและความปลอดภัย มีโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการจ่ายน้ำประปาให้ประชาชนได้ใช้งาน
- ข้อดี: ใช้งานง่ายสะดวกเป็นแหล่งน้ำที่เราทุกคนต่างรู้จักกันดีที่สุด มีความสะอาด
- ข้อควรระวัง: เสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากท่อที่เสื่อมสภาพหรือปัญหาโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ กรณีมีความต้องการใช้น้ำจำนวนมากจะมีค่าใช้จ่ายในราคาที่สูง
ชนิดของน้ำที่ผ่านการปรับสภาพ
1.น้ำประปา
น้ำที่ออกมาจากก๊อกน้ำ เป็นแหล่งน้ำหลักของชุมชนหลายแห่ง แหล่งผลิตน้ำประปามาจากโรงบำบัดน้ำเสียของเทศบาล น้ำประปาเป็นน้ำที่ผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์และบำบัด เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการควบคุมและรับรองความปลอดภัยสำหรับการบริโภคของมนุษย์
- ข้อดี: สะดวก คุ้มค่า และมักจะได้มาตรฐานความปลอดภัย
- ข้อควรระวัง: อาจมีสารปนเปื้อนในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น / ราคาค่าน้ำอาจมีความผันผวนขึ้นลงตามระบบเศรษฐกิจของประเทศ
2.น้ำ RO
ระบบกรองน้ำ RO กำจัดสิ่งปนเปื้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ได้น้ำคุณภาพสูง
- ข้อดี: กระบวนการกรองช่วยเพิ่มรสชาติและกำจัดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ระบบ RO มีขนาดค่อนข้างเล็กและสามารถติดตั้งไว้ใต้อ่างล้างจานได้ ให้ความสะดวกสบายในการใช้งาน
- ข้อควรระวัง: ระบบ RO จะสร้างน้ำเสียในระหว่างกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ ซึ่งนำไปสู่การสิ้นเปลืองน้ำบางส่วน
3.น้ำ DI
น้ำปราศจากไอออน หรือ น้ำ DI มีความบริสุทธิ์เป็นพิเศษ ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานทางอุตสาหกรรมและห้องปฏิบัติการต่าง ๆ
- ข้อดี: น้ำ DI ไม่ทิ้งคราบแร่ธาตุหรือสารตกค้าง ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานที่ความบริสุทธิ์เป็นสิ่งสำคัญ
- ข้อควรระวัง: ระบบกำจัดไอออนอาจมีต้นทุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และจากการขาดแร่ธาตุจะทำให้น้ำ DI ไม่เหมาะกับการดื่ม เนื่องจากไม่มีรสชาติและอาจไม่ได้ให้แร่ธาตุที่จำเป็น
4.น้ำ Soft Water
น้ำอ่อนช่วยป้องกันการสะสมของตะกอนในท่อ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องทำน้ำอุ่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและอายุการใช้งาน
- ข้อดี: การนำสบู่และผงซักฟอกมาใช้กับน้ำอ่อน ทำให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลทำให้การทำความสะอาดดีขึ้น
- ข้อควรระวัง: จากกระบวนการทำน้ำอ่อน จะทำให้ปริมาณโซเดียมในน้ำเพิ่มขึ้น
สรุป น้ำแต่ละประเภทล้วนมีข้อดีข้อควรระวังแตกต่างกันไป อาจจะไม่ได้มีประเภทไหนดีที่สุด แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการ ในการใช้งานมากกว่า เช่น การทำเกษตรกรรมอุตสาหกรรมก็อาจจะต้องพึ่งพิงน้ำบาดาลมากกว่า เพราะว่าเป็นแหล่งนั้นจากธรรมชาติ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายค่าน้ำประปารายเดือน หรือน้ำที่นำมาใช้ในการดื่มรายวัน ก็อาจจะเหมาะกับระบบกรองน้ำ RO ซึ่งช่วยกรองน้ำได้อย่างสะอาดและมีประสิทธิภาพ ทำให้น้ำมีรสชาติที่ดีขึ้น