ระบบน้ำสำหรับการเกษตร
การเกษตรถือเป็นอาชีพหลักของชาวไทยมาแต่ช้านาน การใช้น้ำทางการเกษตรก็เป็นอีกเรื่องที่มีความหลากหลาย และ คุณเองก็จำเป็นต้องเลือกระบบน้ำสำหรับการเกษตรที่เหมาะสม แล้วระบบน้ำสำหรับการเกษตรในปัจจุบันมีรูปแบบใดบ้าง เหมาะกับพืชที่เรากำลังปลูกหรือไม่ เราไปพบกับคำตอบเหล่านั้นพร้อม ๆ กันเลย
ระบบน้ำสำหรับการเกษตร 6 รูปแบบ มีอะไรบ้าง
ระบบน้ำสำหรับการเกษตรมีทั้งหมด 6 รูปแบบด้วยกัน ตามลักษณะของสายน้ำที่ไหลออกมา หรือ ตามลักษณะการตั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือ โดยมีดังนี้
1. ระบบน้ำพุ่ง
เป็นระบบน้ำที่วางท่อน้ำขนานกับพื้นดินตามแนวที่ปลูกพืช จากนั้นจึงทำการเจาะรูที่ท่อเป็นรูขนาดเล็ก ๆ จำนวนมาก แบบไม่เป็นระเบียบ เป็นการเจาะท่อน้ำแบบสุ่ม เมื่อเปิดน้ำหรือใช้ประปาบาดาลเปิดมาก็จะมีน้ำพุ่งออกมาในทุกทิศทุกทางกันเลย ยกเว้นบริเวณที่ท่อสัมผัสกับพื้นดิน ระบบน้ำพุ่งนี้เป็นระบบที่เหมาะกับการใช้ในการรดพืชผักสวนครัว
2. ระบบน้ำหยด
ระบบน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรสามารถวางต่อท่อแล้วเจาะเป็นรูเล็ก ๆ เป็นระยะ ๆ แบ่งเป็นช่วงที่เท่า ๆ กัน แล้วเปิดน้ำให้หยดออกมา น้ำที่ไหลออกมาจึงมีลักษณะเป็นหยดอย่างเป็นระเบียบทั้งขนาดของหยดน้ำและระยะห่างระหว่างหยดน้ำ ส่วนนี้เหมาะสำหรับการใช้รดทางการเกษตรที่เป็นสวนทั้งสวนมันสำปะหลัง หรือ สวนผลไม้ เป็นต้น
3. ระบบน้ำเหวี่ยง
ระบบประปาน้ำบาดาลที่ถูกต่อท่อออกมาให้มีลักษณะของสายน้ำแบบเหวี่ยงเป็นวงกว้าง เป็นระบบที่ได้รับความนิยมในการทำการเกษตรไม้ใหญ่ที่ต้องอาศัยการรดน้ำในวงกว้างหน่อย แต่ระบบน้ำเหวี่ยงไม่สามารถกำหนดทิศทางของสายน้ำได้อย่างแม่นยำ จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมจากเกษตรกรในปัจจุบัน โดยเกษตรกรในปัจจุบันมักหันไปใช้ระบบมินิสปริงเกอร์ หรือ ระบบสปริงเกอร์แทน (ทั้งระบบมินิสปริงเกอร์ และ ระบบสปริงเกอร์เราจะมีการอธิบายต่อไปในบทความ)
4. ระบบปล่อยน้ำทางผิวดิน
ระบบน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรที่เป็นการนำทางน้ำด้วยดินหรือทางดินหรือร่องดิน ซึ่งส่วนนี้จะใช้การปรับพื้นที่ดินให้เป็นร่อง หรือ เป็นการไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ แล้วเปิดน้ำเพื่อให้น้ำไหลไปตามทางที่กำหนดไว้ แต่วิธีนี้ไม่ค่อนเป็นที่นิยมเท่าใดนัก ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากเป็นการสิ้นเปลืองน้ำ รวมไปถึงน้ำมักมีการระเหยไประหว่างทางก่อนถึงจุดหมายปลายทางที่ได้กำหนดไว้ แต่นับเป็นวิธีที่แทบไม่ตองมีอุปกรณ์ใด ๆ เลย เพราะเป็นการใช้ดินที่ใช้ในการเพาะปลูกอยู่แล้วมาเป็นตัวกำหนดทิศทางการไหลของน้ำนั่นเอง
5. ระบบมินิสปริงเกอร์
แหล่งกำเนิดจากน้ำประปาบาดาลที่ใช้วิธีนี้จะใช้หัวจ่ายขนาดเล็กบริเวณปลายทางที่น้ำไหลออก หรือ วางมินิสปริงเกอร์ไว้ระหว่างท่อ เพื่อให้เกิดลักษณะของสายน้ำพุ่งออกมาเหมือนน้ำพุ โดยระบบน้ำการเกษตรวิธีนี้จะวางมินิสปริงเกอร์ไว้ที่ยอดของต้น เพื่อให้น้ำที่ผ่านหัวจ่ายไหลลงสู่ต้น ระบบมินิสปริงเกอร์เป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน
6. ระบบน้ำแบบสปริงเกอร์
เป็นระบบน้ำที่ได้รัยความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน และเป็นระบบที่มีความคล้ายคลึงกับระบบมินิสปริงเกอร์มาก เพียงแต่ระบบน้ำแบบสปริงเกอร์นั้นมีหัวจ่ายที่ใหญ่กว่าระบบมินิสปริงเกอร์ ส่วนความนิยมในระบบน้ำแบบสปริงเกอร์มากกว่าวิธีอื่น ๆ เพราะสามารถรดน้ำต้นพืชได้อย่างตรงจุด พร้อมลักษณะของสายน้ำที่ไหลออกมาไม่แรงมากเหมือนสายฝนตกเบา ๆ แต่ระบบสปริงเกอร์นี้ก็ไม่ได้เหมาะกับต้นไม้ทุกชนิดแต่อย่างใด
จากบทความข้างต้นเราก็จะพบกับความหลากหลายของระบบน้ำที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งส่วนนี้ก็ล้วนสามารถปรับได้จากแหล่งน้ำประปา หรือ แหล่งน้ำที่มีระบบบ่อบาดาล และด้วยความหลากหลายนี้เองผู้ที่ทำการปลูกพืช หรือ เกษตรกรทุกท่านก็จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพื่อเลือกระบบน้ำทางการเกษตรที่เหมาะสมกับพืชที่ตนปลูก เพื่อให้ระบบน้ำทางการเกษตรที่นั้นเป็นระบบน้ำทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยทุ่นแรงและทำให้พืชที่คุณปลูกเติบโตอย่างมีคุณภาพ