สารแขวนลอย คืออะไร หากพบเจอสารแขวนลอยเจือปนในระบบน้ำจะมีความอันตรายหรือไม่

สารแขวนลอย-คืออะไร-หากพบเจอสารแขวนลอยเจือปนในระบบน้ำจะมีความอันตรายหรือไม่

สารแขวนลอย

หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่าสารแขวนลอยมาก่อน โดยเฉพาะการติดตั้งระบบน้ำต่างๆ สารแขวนลอยมักสร้างความรำคาญใจให้กับทุกคนเป็นสารที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันโดยที่ไม่ได้สังเกต วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสารแขวนลอยให้มากขึ้น สารแขวนลอยคืออะไร สาเหตุใดที่ทำให้เกิดสารแขวนลอย สารแขวนลอยที่ปนเปื้อนมากับน้ำมีอันตรายหรือไม่ และการคัดแยกสารแขวนลอยมีขั้นตอนอย่างไรเรามาหาคำตอบกันเลย

บทความที่น่าสนใจ :

💧 มาทำความรู้จักกับ “สารเร่งตกตะกอน” คืออะไร ตัวช่วยกำจัดสารปนเปื้อนในน้ำ เพื่อป้องกันน้ำเสีย

💧 สาร PAC (Poly Aluminium Chloride) คืออะไร ใช้แล้วดีต่อการทำระบบน้ำอย่างไรบ้าง

สารแขวนลอย คืออะไร

สารแขวนลอยหรือ (Suspension) คือ สารเนื้อผสมมีอนุภาคใหญ่กว่า 10-4 เซนติเมตร หรือสารแขวนลอยหมายถึงสารผสมของสสารที่ต่างชนิดกันไม่เป็นเนื้อเดียวกันและมีอนุภาคใหญ่กว่า 1 ไมโครเมตร   เราสามารถมองเห็นอนุภาคของสารชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดลอยกระจายอยู่ในสารอีกชนิดหนึ่งที่เป็นตัวกลางได้ด้วยตาเปล่า เมื่อตั้งทิ้งไว้สักพักจะตกตะกอนสามารถแยกสารแขวนลอยที่อยู่ในสารเนื้อผสมออกมาได้ด้วยการกรอง สารแขวนลอยจะใหญ่กว่าอนุภาคของสารคอลลอยด์ ยกตัวอย่างสารแขวนลอยเช่น อนุภาคของฝุ่นที่แขวนลอยในอากาศ แป้งหรือผงชอล์กที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ โคลนหรือน้ำขุ่นโดยมีอนุภาคของดินอยู่ในน้ำ เป็นต้น  

สาเหตุที่ทำให้เกิด สารแขวนลอย มีอะไรบ้าง

1.สารแขวนลอยมีสาเหตุมาจากความขุ่นของน้ำ

2.สารแขวนลอยในน้ำอาจมีสาเหตุมาจากการตกตะกอนของน้ำ

3.อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดสารแขวนลอยคือการแยกตัวของสารแขวนลอยที่ผสมในสารเนื้อผสม

4.สารแขวนลอยอาจเกิดจากสารที่ผสมกัน

สารแขวนลอยที่มีการปนเปื้อนมากับระบบน้ำ มีความอันตรายหรือไม่

มีหลายคนสงสัยว่าสารแขวนลอยที่ปะปนมาในน้ำมีอันตรายหรือไม่ อย่างไร สารแขวนลอยที่ผสมหรือเจือปนมากับน้ำ หากมนุษย์บริโภคเข้าไปในร่างกาย แน่นอนว่าย่อมไม่ปลอดภัย เนื่องจากสารแขวนลอยเป็นสารที่ทำให้เกิดความขุ่น แล้วมันยังอาจมีซากอาหาร ซากพืช ซากสัตว์รวมถึงแพลงตอนบางชนิด ปะปนผสมมากับระบบน้ำด้วย ค่าความขุ่นของน้ำมีความสำคัญด้านทัศนคติของการอุปโภคและการบริโภคของผู้ใช้น้ำ อีกทั้งค่าความขุ่นของน้ำก็ยังส่งผลต่อสารเคมีที่ใช้ปรับสภาพของน้ำด้วยและประสิทธิภาพเครื่องกรองน้ำเช่นกัน หากค่าความขุ่นมีปริมาณมากก็ต้องใช้สารเคมีมากขึ้นและนั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องกรองน้ำเกิดการอุดตันในที่สุด ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคก็จะลดลงที่สำคัญมันยังส่งผลทำให้เครื่องมีอายุการใช้งานที่สั้นลงด้วย 

ยกตัวอย่างสารแขวนลอย ที่ต้องเจอในชีวิตประจำวัน

  • ยาลดกรด
  • ยาปฏิชีวนะ
  • แป้งมันผสมน้ำ
  • น้ำแกงส้ม
  • น้ำโคลน
  •  ยาคาลาไมน์
  • ดินปืน

การคัดแยก สารแขวนลอย มีขั้นตอนการทำอย่างไร

1.การตกตะกอน

สารแขวนลอยบางชนิดที่มีขนาดใหญ่มากกว่า 1 ไมครอนหรือมีความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำ ยกตัวอย่างเช่น เศษอินทรีย์วัตถุจุลินทรีย์ ตะกอนดิน เศษอาหาร เป็นต้น หากทิ้งไว้สักพักจะเกิดการตกตะกอนของสารเหล่านี้แต่สารแขวนลอยบางชนิดที่มีขนาด 1 ไมครอนหรือใหญ่กว่าเพียงเล็กน้อย ตลอดจนมีความถ่วงจำเพาะกว่าน้ำจะไม่เกิดการตกตะกอน การตกตะกอนถือเป็นขั้นตอนที่ 2 ในการบำบัดน้ำเสีย เป็นขั้นตอนที่ถัดมาจากเครื่องแยกกาก

ระบบบำบัดน้ำเสียทุกระบบจำเป็นจะต้องวางระบบตกตะกอนเอาไว้ก่อน เพื่อลดภาระการบำบัดในขั้นตอนต่อไปนั่นเองและยังช่วยแยกของแข็งหรือวัตถุmujอาจส่งผลกระทบต่อเครื่องจักรด้วย ระบบตกตะกอนที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ ถังตกตะกอนหรือเรียกว่าบ่อตกตะกอนทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำเสียและรับตะกอนขนาดใหญ่ให้ตกลงสู่ก้นบ่อ หากต้องการให้สารแขวนลอยที่ไม่ตกตะกอนเกิดการตกตะกอนก็มีความจำเป็นต้องใช้เทคนิคอื่นๆ เข้ามาช่วย อย่างเช่น Flocculation  และ Coagulation  เป็นต้น โดยเติมสารเคมีที่มีประจุช่วยการตกตะกอน อาทิเช่น พอลิเมอร์ ทั้งประจุบวกหรือลบและสารส้ม เป็นต้น วิธีนี้ถูกนำมาใช้ในการตกตะกอนสารคอลลอยด์ด้วยแต่การใช้เทคนิคดังกล่าวนั้นจะมีทั้งสารแขวนลอยขนาดเล็กรวมตัวกันอยู่กับสารคอลลอยด์ในเนื้อตะกอนเดียวกัน

2.การกรอง

กับการกรองก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถใช้แยกสารแขวนลอยได้ โดยเฉพาะสารแขวนลอยขนาดใหญ่โดยเลือกใช้ขนาดกระดาษกรองให้เหมาะสม อย่างเช่น การกรองแยกสารสารแขวนลอยคอลลอยด์หรือกรองแยกสารแขวนลอยออกจากคอลลอยด์ให้ใช้กระดาษกรองที่มีขนาด 1 ไมครอน หลังจากกรองแล้วสารคอลลอยด์ที่เล็กกว่า 1 ไมครอนจะผ่านกระดาษกรองได้แต่สารคอลลอยด์ที่ใหญ่กว่าจะค้างบนแผ่นกระดาษกรองนั่นเอง การกรองในระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำและระบบบำบัดน้ำเสีย มีทั้งการกรองด้วยแผ่นกรองและการกรองด้วยวัสดุ การกรองด้วยแผ่นกรองถือเป็นการกรองที่ละเอียดและได้รับความนิยมสำหรับระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ในการอุปโภคและบริโภค ส่วนการกรองด้วยวัสดุเป็นการกรองแบบหยาบนิยมใช้ในระบบบำบัดน้ำเสียเป็นหลัก

3.การระเหยด้วยความร้อน

ตัวกลางหลายชนิดซึ่งมีปริมาตรมากกว่าสารแขวนลอยจะมีจุดเดือดต่ำ ยกตัวอย่างเช่น แอลกอฮอล์ น้ำ เมื่อให้ความร้อนกับตัวกลางตัวกลางจะเดือดและระเหยกลายเป็นไอจนหมดแต่ยังคงเหลือของแข็งแขวนลอยและสารชนิดอื่นๆ ซึ่งการแยกด้วยความร้อนนั้นจะทำให้ตัวกลางระเหยจนหมด จะได้สารแขวนลอยและคอลลอยด์ รวมถึงสารละลายที่เกิดการตกผลึกเป็นของแข็งด้วย

หากพบเจอ สารแขวนลอย ที่อยู่ในระบบน้ำ ต้องทำอย่างไร

หากคุณพบว่ามีสารแขวนลอยหรือคอลลอยด์แขวนลอยอยู่ในน้ำ จำเป็นต้องรีบปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนที่จะนำน้ำไปใช้ในการอุปโภคและบริโภคเพราะหากคุณบริโภคสารแขวนลอยที่อยู่ในน้ำเข้าไปแน่นอนว่ามันไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายของคุณเท่าไหร่นัก การปรับปรุงคุณภาพน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญ ต้องการกำจัดสารแขวนลอย ปรับปรุงคุณภาพน้ำ mitrwater ช่วยได้ เราคือผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้งระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบครบวงจร ให้บริการดูแลลูกค้าทุกกลุ่มตั้งแต่ระบบขนาดเล็ก ระบบขนาดกลางไปจนถึงระบบขนาดใหญ่ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ มั่นใจด้วยทีมงานวิศวกรที่มีประสบการณ์ด้านระบบบำบัดน้ำมากกว่า 20 ปี ให้บริการท่านในราคาเป็นมิตรและยังมีบริการสำรวจหน้างานฟรี ให้คำปรึกษาฟรีโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายอีกด้วย

บริการทำระบบน้ำประปา แบบครบวงจรที่สุดในไทย รับออกแบบ ติดตั้ง ทำระบบผลิตน้ำประปาผิวดิน ระบบน้ำประปาบาดาล ระบบน้ำประปาหมู่บ้าน ถูกต้องตามมาตรฐานของน้ำประปา โดยมิตรวอเตอร์ "เพื่อนของน้ำ เพื่อนของคุณ"
ดูเพิ่มเติม ติดต่อเรา