ตัวทำละลาย (Solvent) คืออะไร ตัวทำละลาย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท?

ตัวทำละลาย-(Solvent)-คืออะไร

ตัวทำละลาย (Solvent)

วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับตัวทำละลาย ซึ่งหลายๆ คนมักจะสับสน แม้จะเคยผ่านการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์มาแล้วก็ตามแต่ก็ยังคงสับสนหรือยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่าตัวทำละลายคืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ตัวทำละลายที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง สิ่งต่างๆ รอบตัวเราเต็มไปด้วยความรู้เสมอ ซึ่งในบทความนี้เราจะมาสรุปให้ทุกคนเข้าใจมากขึ้นรับรองว่าจบแล้วทุกคนจะเข้าใจทันที

บทความทีน่าสนใจ :

  : สารละลาย (solution) คืออะไร การแบ่งสารละลาย มีกี่ชนิด ?

  : สารแขวนลอย คืออะไร หากพบเจอสารแขวนลอยเจือปนในระบบน้ำจะมีความอันตรายหรือไม่

ตัวทำละลาย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

ตัวทำละลาย คืออะไร ?

ตัวทำละลาย คือ สารทำละลายที่สามารถละลายตัวถูกละลายได้ ตัวทำละลายตัวละลาย ไม่เหมือนกัน โดยตัวทำละลายอาจเป็นได้ทั้งของเหลว ของแข็งหรือก๊าซ ตัวทำละลายที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุดในปัจจุบันก็คือ น้ำ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสารชนิดไหนเป็นตัวทำละลาย กรณีที่นำสารมาผสมไม่ใช่สถานะเดียวกัน ยกตัวอย่าง ปรอทซึ่งมีสถานะเป็นของเหลวและเงินซึ่งมีสถานะเป็นของแข็ง เมื่อผสมกันแล้วจะได้เป็น อมัลกัม ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งหมายความว่าตัวทำละลายก็คือเงิน เนื่องจากมันมีสถานะเดียวกันกับอมัลกัม อีกหนึ่งตัวอย่างคือน้ำผสมกับเกลือ ได้เป็นน้ำเกลือ ซึ่งมีสถานะเป็นของเหลวนั่นหมายความว่าน้ำที่มีสถานะเดียวกันกับน้ำเกลือเป็นตัวทำละลาย แต่หากสารซึ่งมีสถานะเดียวกันผสมกัน สารที่มีในปริมาณมากกว่าจะเป็นตัวทำละลาย อย่างเช่น ทองแดง 60 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับสังกะสี 40% ได้เป็นทองเหลือง นั่นหมายความว่าทองแดงเป็นตัวทำละลาย หรือก๊าซไนโตรเจน 78% ผสมกับออกซิเจน 21% ตัวทำละลายก็คือก๊าซไนโตรเจนนั่นเอง

ตัวทำละลาย-คืออะไร

ตัวทำละลาย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ?

ตัวทำละลายแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ตัวทำละลายมีขั้ว(Polar) และตัวทำละลายไม่มีขั้ว(Non-polar) ตัวทำละลายทั้งสองประเภทนี้แตกต่างกันอย่างไร มาดูกัน

1. ตัวทำละลายมีขั้ว(Polar)

ยกตัวอย่างเช่น น้ำ ซึ่งมีสูตรโครงสร้างทางเคมี H2O  ไฮโดรเจน คือ H ส่วนออกซิเจน คือ O เป็นธาตุคนละชนิดมีจึงมีความต่างศักย์ของประจุไฟฟ้าประกอบกับการจัดเรียงโครงสร้างโมเลกุลสนับสนุนทำให้เกิดความแตกต่างของขั้วไฟฟ้ามากขึ้นนอกจากนั้นยังมีเรื่องของแรงระหว่างโมเลกุลซึ่งเรียกว่าพันธะไฮโดรเจน จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้น้ำซึ่งเป็นตัวทำละลายที่มีขั้ว โดยธรรมชาติแล้วตัวทำละลายมีขั้วจะมีจุดเดือดสูงและสามารถนำไฟฟ้าได้ด้วย

2. ตัวทำละลายไม่มีขั้ว(Non-polar)

ยกตัวอย่างเช่น คาร์บอนเตตระคลอไรด์ สารที่ใช้ในการดับเพลิง มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคือ CCl4 คาร์บอนคือ C ส่วนคลอไรด์คือ CI แน่นอนว่าทั้งสองเป็นธาตุคนละชนิดกันมีความต่างศักย์ของประจุไฟฟ้าแต่เนื่องจากการจัดเรียงของโครงสร้างทางโมเลกุลจึงทำให้ความต่างศักย์ของประจุไฟฟ้าของธาตุทั้ง 2 ชนิดเกิดการหักล้างกันจนหมด คาร์บอนเตตระคลอไรด์จึงเป็นตัวทำละลายที่ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้และเป็นตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วนั่นเอง

ตัวทำละลาย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

ยกตัวอย่าง ตัวทำละลายที่อาจต้องเจอในชีวิตประจำวัน 

ตัวทําละลายอินทรีย์ : ตัวทำละลายอินทรีย์ คือ สารเคมีที่นิยมใช้กันในอุตสาหกรรมต่างๆ อาจใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตหรือใช้เป็นองค์ประกอบในผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการใช้ในห้องปฏิบัติการ เช่น ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา ห้องปฏิบัติการทางเคมี เป็นต้น ตัวทำละลายอินทรีย์สามารถแบ่งได้หลายชนิดตามองค์ประกอบทางเคมี โดยแต่ละชนิดนั้นมีคุณสมบัติกายภาพไม่เหมือนกัน แม้ตัวทำละลายอินทรีย์จะมีประโยชน์แต่ก็ยังมีพิษต่อมนุษย์ รวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องใช้อย่างระมัดระวัง ตัวทำละลายอินทรีย์เป็นสารประกอบที่มีไฮโดรเจนและธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลักๆ รวมถึงธาตุอื่นๆ เป็นองค์ประกอบรอง เช่น ไนโตรเจน ออกซิเจน ซัลเฟอร์ ฟอสฟอรัส คลอรีน เป็นต้น 

ทองเหลืองตัวทําละลาย : ทองเหลืองเกิดจากทองแดง 60% ผสมกับสังกะสี 40% ดังนั้น ตัวทำละลายทองเหลืองก็คือทองแดง เพราะเป็นสารที่มีสถานะเดียวกัน สารที่มีปริมาณมากกว่าจึงเป็นตัวทำละลาย|

ตัวทำละลายน้ำมันพืช : น้ำมันพืชคือสารประเภทที่ไม่มีขั้ว เมื่อถูกผสมกับน้ำ จึงกลายเป็นสารชนิดที่มีขั้ว โดยจะแยกชั้นกัน ไม่สามารถละลายเข้ากันได้


ตัวทำละลายน้ำ
: ตัวทำละลายน้ำ เราสามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวันบ่อยที่สุดอย่างเช่น น้ำผสมเกลือกลายเป็นน้ำเกลือ ถือได้ว่าน้ำเป็นตัวทำละลายหรือน้ำผสมกับน้ำตาล น้ำก็คือตัวทำละลายเช่นเดียวกัน


ตัวทำละลายน้ำปลา
: น้ำปลาใช้สำหรับปรุงแต่งอาหาร มันช่วยให้อาหารมีรสเค็มเป็นสารละลายของเหลวโดยหมายถึงสารละลายที่มีตัวทำละลายเป็นสถานะของเหลว


ตัวทำละลายพาราฟิน
: พาราฟินคือไขมันที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ลักษณะคือมีสีใส ไม่มีรสชาติและไม่มีกลิ่นคล้ายกับขี้ผึ้งจุดหลอมเหลวอยู่ที่ 47 ถึง 64 องศาเซลเซียส ไม่ละลายในน้ำแต่สามารถละลายได้ใน Ether, Benzene และ Ester บางชนิด


ตัวทำละลายคืออะไร
แบ่งออกเป็นกี่ประเภทและตัวทำละลายที่เราพบในชีวิตประจำวันทั่วไปมีอะไรบ้าง ทั้งหมดนี้ คือสาระดีๆ เกี่ยวกับตัวทำละลาย หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อย

บริการทำระบบน้ำ DI

รับออกแบบ ติดตั้งเครื่องกรองน้ำ DI ทำระบบน้ำ DI สำหรับการใช้งานในห้อง Lab ราคาเป็นมิตร โดยมิตรวอเตอร์ "เพื่อนของน้ำ เพื่อนของคุณ"

ดูเพิ่มเติม ติดต่อเรา