ค่า pH คืออะไร น้ำควรมีค่า pH ที่เท่าไหร่ เหมาะกับการนำไปใช้ทำอะไร

ค่า pH

ค่า pH คือ

คือค่าที่บอกถึงระดับความเป็นกรดหรือเบสของสารละลายในน้ำ สามารถวัดได้จากความเข้มข้นของไฮโดรเนียม (H3O+) ไอออนในสารละลายที่เป็นน้ำ โดยจะมีช่วงค่าตั้งแต่ 0-14

หากมีค่าphของน้ำต่ำกว่า 7 จะมีลักษณะเป็นกรด เช่น น้ำมะนาว น้ำส้มสายชู ส่วนค่าphที่ได้มากกว่า 7 ก็จะมีลักษณะเป็นเบส เช่น สบู่ น้ำยาทำความสะอาด และสารละลายที่มีค่า ph เท่ากับ 7 มีค่าเป็นกลาง เช่น น้ำบริสุทธิ์

น้ำด่างมาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร

วิธีวัดค่า pH

1.แถบทดสอบค่า pH

การใช้แถบทดสอบวัดค่าphน้ำ เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกสำหรับการตรวจสอบความเป็นกรดและเบสของสารละลาย เพราะเป็นกระดาษที่ถูกเคลือบด้วยสารเคมีชนิดพิเศษที่สามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อสัมผัสกับสารละลายที่มีค่าความเป็นกรดและเบส โดยการเปลี่ยนสีของแถบทดสอบจะขึ้นอยู่กับค่า pH ของน้ำ ทำให้สามารถประเมินค่าความเป็นกรดและเบสได้อย่างรวดเร็ว

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการวัดค่า pH ด้วยแถบทดสอบก็ไม่ได้มีความแม่นยำที่สูงมากนัก จึงเหมาะสำหรับการตรวจสอบแบบคร่าว ๆ มากกว่านั่นเอง

2.เครื่องวัดค่า pH

เครื่องวัดค่า pH เป็นอุปกรณ์ที่สามารถวัดค่าความเป็นกรดและเบสของน้ำได้อย่างแม่นยำ โดยจะวัดจากค่าความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนในสารละลาย ซึ่งเครื่องวัดค่า pH เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น ในห้องปฏิบัติการ อุตสาหกรรม หรือการวัดคุณภาพน้ำ

3.การไทเทรต (Tatration)

การหาค่า pH ด้วยการไทเทรต เป็นการหาปริมาณความเข้มข้นของกรดหรือเบส ซึ่งจำเป็นต้องทำการตรวจสอบค่าความเข้มข้นสัมพัทธ์ของสารตั้งต้นทั้งสองชนิด

โดยการหาค่า pH ด้วยวิธีการนี้เหมาะสำหรับการใช้งานในห้องปฏิบัติการที่มีผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และไม่เหมาะกับอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้วยนั่นเอง

วิธีการปรับค่า pH ในน้ำ
การปรับค่า pH ในน้ำ

วิธีการปรับค่า pH

สำหรับการปรับค่า pH ขึ้นอยู่กับคุณว่าต้องการลดหรือเพิ่มค่า pH ของสารละลาย โดยมีวิธีการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ดังนี้

  1. ปรับค่า pH ให้ต่ำลง (เพิ่มความเป็นกรด) ให้เติมสารละลายกรด เช่น กรดโฮโดรคลอริก, กรดซัลฟิวริก ฯลฯ เติมลงในสารละลายที่ต้องการปรับค่า pH ทีละน้อย คนให้ทั่วถึง และวัดค่า หากยังไม่ถึงเป้าหมาย ให้เติมเพิ่มอย่างระมัดระวัง
  2. ปรับค่า pH ให้สูงขึ้น (เพิ่มความเป็นเบส) ด้วยการเติมสารละลายเบส เช่น โซเดียมคาร์บอเนต, โซเดียมโฮดรอกไซด์ ฯลฯ ลงในน้ำทีละน้อย คนให้ทั่ว และวัดค่า pH จนกว่าจะได้ค่า pH ที่ต้องการ
  3. ควบคุมค่า pH ให้คงที่ ให้ใช้สารละลายบัฟเฟอร์ เพื่อรักษาค่า pH ให้คงที่ ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานในห้องปฏิบัติการ ที่ต้องการความแม่นยำสูง
ค่า pH ที่เหมาะกับการทำสิ่งต่าง ๆ
ค่า pH ที่เหมาะกับการทำสิ่งต่าง ๆ

ตัวอย่างค่า pH เท่าไหร่เหมาะกับการทำอะไร

ค่า pH น้ำดื่ม

สำหรับค่าphน้ำดื่ม ควรอยู่ช่วง 6.5-8.5 เพราะถ้าน้ำดื่มมีค่า pH ต่ำกว่า 6.5 อาจเป็นกรดและส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่หากมีค่า pH ที่สูงเกิด 8.5 ก็จะทำให้น้ำที่รสชาติที่ขม ซึ่งเกิดการตะกอน และแร่ธาตุที่เจือปนในน้ำ

ค่า pH น้ำประปา

ค่าphของน้ำประปา ควรอยู่ในช่วง 6.5-8.5 เช่นเดียวกับน้ำดื่ม เพราะน้ำประปาที่มีค่า pH ที่เหมาะสม จะช่วยป้องกันการกัดกร่อนในระบบท่อส่งน้ำ หากมีค่า pH ที่ต่ำเกินไป ก็อาจทำให้เกิดสนิมในท่อ แต่ถ้ามีค่า pH ที่สูงเกินไป ก็จะทำให้เกิดการสะสมของแร่ธาตุได้นั่นเอง

ค่า pH ของน้ำเลี้ยงปลา

สำหรับค่าphของน้ำเลี้ยงปลาแบบบ่อเลี้ยง จะมีค่า pH อยู่ในช่วง 6.5-8.0 ซึ่งเหมาะสำหรับเลี้ยงปลาทั่วไป เช่น ปลานิล ปลาทับทิม ปลาดุก

ส่วนแบบตู้ปลาน้ำจืด จะอยู่ในช่วง 6.5-7.5 และตู้ปลาน้ำเค็ม จะอยู่ในช่วง 8.0-8.4 เพราะในตู้ปลามีพื้นที่จำกัด หากมีค่า pH ที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้ปลาตายได้

ค่า pH ของน้ำรดต้นไม้

ค่าphของน้ำรดต้นไม้ ปกติจะอยู่ในช่วง 5.5-7.0 เนื่องจากต้นไม้ส่วนใหญ่สามารถเติบโตได้ดีในดินที่มีความเป็นกรดและเบสอ่อน ๆ แต่หากมีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 ก็อาจทำให้พืชได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ สูงกว่า 7.0 ก็อาจทำให้เกิดการสะสมของแร่ธาตุ ดังนั้นจึงควรอยู่ในช่วง 5.5-7.0 นั่นเอง

สรุป

จะเห็นได้ว่าค่า pH เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ควบคุมในหลายสถานการณ์ ทั้งด้านสุขภาพ การเกษตร และอุตสาหกรรม การตรวจวัดค่า pH และปรับค่าให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ เพราะจะช่วยทำให้น้ำเกิดความสมดุลและมีประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุดนั่นเอง