อาคารสูง คือ อาคารที่มีบุคคลอาศัยหรือเข้าใช้สอยที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า เช่น โรงแรม อพาร์ทเมนต์ คอนโด ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนที่พักอาศัยอยู่ในอาคารสูงก็คงจะเคยพบเจอกับปัญหาคุณภาพน้ำมาบ้างแล้ว
ดังนั้นในบทความนี้จะพาไปรู้จักกับแนวทางการจัดการคุณภาพน้ำในอาคารสูง ระบบปั๊มน้ำและระบบน้ำประปาในอาคารสูงว่ามีอะไรบ้าง
แนวทางการจัดการคุณภาพน้ำในอาคารสูง
1.สำรวจสถานที่ตั้งของถังสำรองน้ำ
ทำการสำรวจสถานที่ตั้งของถังน้ำสำรอง ซึ่งต้องเป็นพื้นที่ที่มีหลังคาคลุม มีขอบเขตที่ชัดเจน ที่ตั้งถังสำรองต้องสะอาด ไม่มีน้ำขัง สิ่งของไม่วางเกะกะ รกรุงรัง สามารถป้องกันสัตว์นำโรคต่าง ๆ ไม่ให้เข้าไปอาศัย เช่น หมา แมว นก หนู หรือสัตว์เลื้อยคลาน
อีกทั้งไม่ถังน้ำสำรองที่ดี ไม่ควรว่างตั้งกับพื้นโดยตรง ควรวางยกระดับขึ้นมาประมาณ 15 เซนติเมตร และมีแสงสว่างที่เพียงพอที่ทำให้เห็นสิ่งผิดปกติภายในถังน้ำสำรองได้ รวมถึงต้องมีการป้องกันไม่ให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณที่ตั้งถังน้ำสำรองด้วย
2.เลือกและดูแลตัวถังน้ำสำรอง
สำหรับแนวทางการจัดการคุณภาพน้ำในอาคารสูง ต้องเลือกและดูแลถังสำรองน้ำอยู่เสมอ ตัวถังต้องทำมาจากวัสดุที่ปลอดภัย เหมาะสำหรับบรรจุน้ำ เช่น ถังสแตนเลสไฟเบอร์กลาส พลาสติก เป็นต้น ซึ่งสภาพถังน้ำต้องสะอาด ไม่ชำรุด แตกร้าว และต้องมีฝาปิดให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด พร้อมใช้งานตลอดเวลา
นอกจากนี้ก็ควรจะมีช่องสำหรับระบายน้ำทิ้งด้านล่างสุด เพื่อความสะดวก สบาย เวลาล้างทำความสะอาดถัง และก่อนนำน้ำประปามาใส่ในครั้งแรกควรทำความสะอาดถังให้สะอาดก่อน รวมถึงต้องล้างถังให้ถูกหลักสุขาภิบาล 6 ในทุก ๆ 6 เดือน ด้วยการขัดผนังด้านในด้วยแปรง ล้างน้ำสะอาด 2 ครั้ง และใช้คลอรีนที่มีความเข้มข้น 50 ppm. แช่ทิ้งไว้ 30 นาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคแล้วปล่อยทิ้งก่อนนำน้ำประปามาใส่
3.รักษาคุณภาพน้ำ
น้ำประปาที่มาจากการประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค ประปาของเทศบาล หรือประปาองค์การบริหารส่วนตำบล โดยส่วนใหญ่คุณภาพน้ำจะได้มาตรฐานทั้งด้านกายภาพ เคมี แบคทีเรีย แถมยังมีคลอรีนอิสระในน้ำหลงเหลืออยู่ 0.2-0.5 ppm.
แต่เมื่อนำน้ำประปามาใส่ในถังสำรอง คลอรีนอิสระในน้ำที่เจือปนอยู่นั้นก็จะสลายหายไปจนไม่เหลืออยู่เลย ดังนั้นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลในส่วนนี้ จึงต้องเข้ามาเช็กปริมาณคลอรีนที่หลงเหลืออยู่อย่างสม่ำเสมอ หากไม่พบควรเติมคลอรีนเพิ่มให้มีค่าคงเหลือไม่ต่ำกว่า 0.2 ppm. ตลอดเวลา
4.จัดหาผู้ดูแล
ควรจัดหาผู้ทำหน้าที่ดูแล ซึ่งต้องได้รับการอบรมความรู้ในด้านการจัดการคุณภาพน้ำ เช่น วิธีการเติมคลอรีนในน้ำ การล้างถังน้ำที่ถูกต้อง การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำด้วยเครื่องมือ และมีการจัดระบบการดูแล โดยมีลักษณะงาน ดังนี้
- งานประจำวัน: การตรวจคุณภาพน้ำอย่างง่าย
- งานประจำสัปดาห์: การสำรวจสภาพถังน้ำสำรอง
- งานประจำเดือน: งานสำรวจ ซ่อมแซมระบบจ่ายน้ำ
- งานประจำ 6 เดือน: การล้างถังน้ำ
- งานประจำปี: การล้างถังน้ำ การซ่อมบำรุงเครื่องสูบน้ำ
5.การป้องกันสัตว์นำโรค
ในบริเวณที่ติดตั้งถังสำรองน้ำ ควรมีรั่วรอบขอบชิด ในกรณีที่มีหลังคาคลุมควรมีการป้องกันสัตว์จำพวกหนู นก เข้าไปทำรังหรือพักอาศัย เช่น มีตาข่ายกั้น ไม่ให้สัตว์นำโรคเข้าไปทำรัง พักอาศัยในเวลาการคืน
ระบบปั้มน้ำในอาคารสูง
1.ทรานเฟอร์ปั๊ม (Transfer Pump)
ระบบปั๊มน้ำแบบทรานเฟอร์ปั๊ม เป็นระบบการสูบจ่ายน้ำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งจะใช้ส่งน้ำจากชั้นล่างขึ้นไปเก็บไว้ที่ถังเก็บน้ำบนดาดฟ้าของอาคารสูง อาศัยหลักแรงโน้มถ่วงในการจ่ายน้ำ เป็นระบบที่เหมาะสำหรับตึก อาพาร์ทเมนต์ หรืออาคารสูง
ซึ่งระบบปั๊มน้ำแบบทราเฟอร์จะใช้ก้านอิเล็กโทรดหรือลูกค้าในการควบคุมการทำงาน มักใช้ปั๊ม 2 ตัว เพื่อสลับการทำงานของปั๊ม เพื่อไม่ให้ปั๊มน้ำทำงานหนักเกินไป หากปั๊มตัวใดเสีย ก็สามารถใช้ปั๊มอีกตัวแทนได้ทันที
2.บูสเตอร์ปั๊ม (Booster Pump)
สำหรับระบบบูสเตอร์ปั๊ม เป็นระบบที่ช่วยเสริมแรงดัน รักษาระดับแรงดันน้ำในท่อ ซึ่งจะใช้ถังแรงดันเป็นตัวช่วยทำให้แรงดันน้ำในระบบมีความสม่ำเสมอ ทำหน้าที่ในการส่งน้ำจากบ่อพักน้ำด้านบนเข้าสู่ระบบผู้ใช้น้ำในอาคาร ทำให้สามารถใช้น้ำได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะมีเปิดใช้มากหรือน้อยแค่ไหน
ซึ่งระบบบูสเตอร์ปั๊มนั้นจะมีถังยางไดอะแฟรมช่วยในการกักเก็บน้ำที่นำมาใช้ในช่วงแรก เพื่อให้ปั๊มน้ำสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ Pressure Switch ในการวัดแรงดันน้ำในท้อ และส่งสัญญาณไปที่ตู้คอนโทรล เพื่อสั่งปิด-เปิดการทำงานของปั๊มน้ำนั่นเอง
ระบบน้ำประปาในอาคารสูง
1.ระบบจ่ายน้ำขึ้น (Up Feed System)
สำหรับระบบจ่ายน้ำขึ้น จะสูบน้ำจากถังเก็บด้วยปั๊มน้ำ (Transfer Pump) ไปยังถังเก็บน้ำอีกถังที่อยู่บนดาดฟ้า หรือหลังคา (Roof Tank) จากนั้นก็จะส่งน้ำไปจ่ายยังส่วนต่าง ๆ ของอาคารด้วยระบบการจ่ายน้ำลง
2.ระบบจ่ายน้ำลง (Down Feed System)
ระบบจ่ายน้ำลง จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ อาคารที่มีความสูงมาก ๆ ท่อเส้นแรกจะจ่ายน้ำโดยอาศัยแรงโน้มถ่วง ซึ่งมักเกิดการกระจ่ายในชั้นล่าง ๆ ของอาคาร เนื่องจากน้ำไหลแรงที่สุด แต่ชั้นที่อยู่ด้านบนใกล้กับถังเก็บน้ำ มักจะพบปัญหาน้ำไหลช้า เพราะแรงดันน้ำไม่เพียงพอ จึงต้องติดตั้งปั๊มน้ำขนาดเล็กเพื่อจ่ายน้ำ หรือที่หลายคนเรียกว่า Booster Pump เพื่อเพิ่มแรงดันให้กับน้ำนั่นเอง
การจัดการระบบน้ำอาคารสูง ด้วยบริษัทระบบน้ำที่มีประสบการณ์
จะเห็นได้ว่าการจัดการระบบน้ำอาคารสูง มีความสำคัญมาก ๆ จึงจำเป็นต้องมีแนวทางการจัดการระบบน้ำอาคารสูงที่ถูกต้อง เพื่อทำให้น้ำมีคุณภาพ ได้มาตรฐานที่สุด แต่สำหรับใครที่ไม่รู้วิธีการดูแลที่ถูกต้อง Mitrwater ช่วยคุณได้
เพราะ Mitrwater เป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ด้านการทำระบบน้ำ มีทีมงานที่สามารถทำงานได้อย่างมืออาชีพ ทำให้มีระบบน้ำที่ดี มีประสิทธิภาพไว้ใช้งานได้ยาวนาน สำหรับใครที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย