มาส่องระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานกันดีกว่า มีแบบไหนบ้าง แบบฉบับ mitrwater

ระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานอุตสาหกรรม มีแบบไหน โรงงานของเหมาะกับระบบไหน เรามีคำตอบ

ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นระบบที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกที่เจือปนอยู่ในน้ำที่เกิดจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้น้ำมีสภาพที่ดีขึ้น ก่อนจะปล่อยสู่ธรรมชาติ โดยไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมาภายหลัง ทำให้การทำระบบบำบัดน้ำเสียเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อโรงงานอุตสาหกรรมมากๆ

บทความนี้จึงจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ 3 ระบบบำบัดน้ำเสียให้มากขึ้นว่าใช้ต่างกันอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ 

ระบบำบัดน้ำเสียโรงงาน มี 3 แบบที่เลือกใช้ได้ให้เหาะกับลักษณะโรงงาน

3 ระบบบำบัดน้ำเสีย ใช้ต่างกันอย่างอย่างไร

1.ระบบบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ

ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานทางกายภาพ เป็นการบำบัดน้ำเสียที่ต้องใช้แรงงานคนและเครื่องจักรในการแยกขยะหรือสารแขวนลอยต่างๆ ที่สามารถดักจับออกจากน้ำได้ เช่น กรวด ทราย เศษไม้ เศษกระดาษ คอนกรีต ไขมัน โคลน น้ำแป้งมัน ฯลฯ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

1.1. การดักด้วยตะแกรง : จะใช้ตะแกรงในการดักจับเศษขยะที่ไหลมากับน้ำเสีย ป้องกันไม่ให้เศษขยะไหลเข้าไปติดกับเครื่องจักร ซึ่งการใช้ตะแกรงดักขยะ ควรเลือกใช้ขนาดที่เหมาะสม เช่น ตะแกรงแบบหยาบใช้ดักขยะที่มีขนาด 25 มม. ขึ้นไป ตะแกรงแบบละเอียดใช้ดักเศษขยะที่มีขนาดระหว่าง 2-6 มม.

1.2. การกำจัดตะกอนหนัก : การกำจัดตะกอนหนัก เป็นการกำจัดสิ่งเจือปนที่ไม่สามารถลอยตามน้ำได้ เช่น ก้อนกรวด หิน ดิน ทราย โลหะต่างๆ ฯลฯ โดยจะใช้ถังตกตะกอนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถังตกตะกอนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ถังตกตะกอนรูปวงกลม และถังสำหรับกำจัดตะกอนหนักแบบระบบเป่าอากาศ

1.3. การกำจัดน้ำมันและไขมัน : จะมีการสร้างบ่อดักไขมันขึ้นมา และใช้แรงงานคนในการเก็บกวาด ตักมันน้ำและไขมันออกเป็นประจำทุกวัน

2.ระบบบำบัดน้ำเสียทางเคมี

สำหรับระบบการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมทางเคมี เป็นระบบที่สามารถรับมือกับน้ำเสียได้หลากรูปแบบ ซึ่งควรเลือกให้เหมาะสมกับสภาพน้ำเสียที่ต้องการบำบัด แล้วส่งต่อไปบำบัดด้วยระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพต่อ โดยจะยกตัวอย่างระบบบำบัดน้ำเสียทางเคมี 3 วิธีที่ทำได้ง่ายๆ และมีประสิทธิภาพสูง

2.1. การทำให้เป็นกลาง : การจะส่งน้ำไปบำบัดต่อด้วยระบบชีวภาพ น้ำเสียจะต้องมีค่า Ph ที่เหมาะสม อยู่ระหว่าง 6.5-8.5 แต่ถ้าต้องการปล่อยสู่ธรรมชาติค่า Ph จะต้องอยู่ช่วง 4-9 สำหรับน้ำเสียที่มีความเป็นด่างมากเกินไป ให้เติมโซดาไฟ ปูนขาว หรือแอมโมเนีย เพื่อปรับสมดุลให้เป็นกลาง และถ้ามีน้ำเสียมีค่าความเป็นกรดมากเกินไป ให้เติมสารเคมีกรดกำมะถัน กรดเกลือ หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

2.2. การตกตะกอนด้วยการใช้สารเคมี : จะเติมสารเคมีลงไปในน้ำ เพื่อให้ทำปฏิกิริยากับสิ่งเจือปนจำพวกสารแขวนลอยที่มีประจุเป็นลบ เช่น ดินเหนียว สีจากโรงงานฟอกย้อม โลหะหนัก ฯลฯ ซึ่งสารเคมีที่ใช้จะต้องเป็นประจุบอก เช่น สารส้ม เกลือเหล็ก

2.3 การทำลายเชื้อโรค : เชื้อโรคและแบคทีเรีย เป็นปัจจัยที่ทำให้ไม่สามารถปล่อยน้ำเสียลงสู่ธรรมชาติได้ ซึ่งการกำจัดเชื้อโรคในน้ำเสียทางเคมี จะเติมสารคลอรีน หรือสารประกอบฟีพอลลงไป ทำลายเชื้อโรคและแบคทีเรียแทน

3.ระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ

การบำบัดน้ำเสียในโรงงานทางชีวภาพ จะช่วยกำจัดสารอินทรีย์ที่ปะปนอยู่ในน้ำเสียออก ซึ่งหัวใจหลักของระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพก็คือ การเลี้ยงจุลินทรีย์ในน้ำเสีย ให้อยู่ในสภาวะแวดล้อมคงที่ เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย และเปลี่ยนให้เป็นตะกอน แยกตัวออกจากน้ำ โดยสามารถแบ่งออกไป 2 วิธีการใหญ่ๆ ดังนี้

3.1 การบำบัดแบบใช้อากาศ : จะใช้ออกซิเจนอิสระเป็นตัวละลายน้ำให้กับจุลินทรีย์ จากนั้นจุลินทรีย์จะทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ เปลี่ยนให้เป็นฟล็อกแล้วเกิดการตกตะกอนแยกตัวออกจากน้ำไปในที่สุด

3.2 การบำบัดแบบไม่ใช้อากาศ : จะต้องทำให้น้ำอยู่ในสภาวะสุญญากาศ โดยสามารถทำได้ง่ายๆด้วยการติดตั้งเครื่องกรองไร้อากาศ ระบบถังหมักตะกอน และบ่อแอนแอโรบิค เป็นต้น

ตัวอย่างการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม

โรงงานต่าง ๆ ที่ต้องทำระบบบำบัดน้ำเสีย
โรงงานต่าง ๆ ที่ต้องทำระบบบำบัดน้ำเสีย

1.ระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานผลไม้กระป๋อง

การบำบัดน้ำเสียในโรงงานผลไม้กระป๋อง จะมีค่าความสกปรกแตกต่างกันออกไปตามกระบวนการผลิตและวัตถุดิบของแต่ละโรงงาน ซึ่งทั่วไปจะบำบัดด้วยกัน 3 ขั้นตอน คือ การบำบัดขั้นต้น ขั้นที่สองและขั้นที่สาม เพื่อลดค่าความสกปรกในน้ำเสียให้เหลือน้อยที่สุด

2.การบำบัดน้ำเสียโรงงานน้ำตาล

โรงงานน้ำตาลจะมีค่า BOD ค่อนข้างสูง มีความสกปรกมาก แต่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ ซึ่งหลังจากบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพเรียบร้อยแล้ว ยังไม่ควรปล่อยสู่ธรรมชาติ ต้องนำไปเก็บในถังเพื่อทำให้เกิดการตกตะกอน แยกเป็นกากหรือของแข็งก่อน

3.การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานยางพารา

โรงงานยางพารา จะมีการเติมกรดมดหรือกรดฟอร์มิกลงไปในน้ำยาง เพื่อทำให้ยางพาราจับตัวกันเป็นก้อน แล้วค่อยนำไปผ่านกระบวนการแปรรูป น้ำติดอยู่กับก้อนยางกลายเป็นน้ำเสีย ซึ่งต้องใช้การบำบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการทางชีวภาพ

4.ระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานแป้งมัน

สำหรับระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานแป้งมัน จะใช้กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ เพราะน้ำเสียอยู่ในรูปของสารอินทรีย์และสามารถเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ได้ เลือกใช้การบำบัดแบบใช้อากาศ จะช่วยทำให้น้ำมีคุณภาพมากขึ้น ไม่มีกลิ่นเหม็น

5.ระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานอาหาร

ส่วนใหญ่อุตสาหกรรมอาหารจะใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ ctivated Sludge Process : AS เป็นการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพโดยใช้แบคทีเรียเป็นออกซิเจนช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย โดยทั่วไปจะมีส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ถังเติมอากาศ และถังตกตะกอน

mitrwater ผู้เชี่ยวชาญเรื่องระบบน้ำ กับงานออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียโรงงาน

สำหรับใครที่สนใจทำอยากทำระบบบำบัดน้ำเสีย สิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้ก็คือ การพิจารณาเลือกใช้บริการกับบริษัทรับออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานกับบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ ทำระบบบำบัดน้ำเสียได้อย่างมืออาชีพ มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญในการทำระบบบำบัดน้ำเสีย รวมถึงบริษัทที่เลือกวิธีการบำบัดน้ำเสียได้เหมาะสมกับน้ำเสียที่สุด หากสนใจก็สามารถติดต่อเข้ามาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ Mitrwater ได้เลย