มาตรฐานน้ำทิ้งกรมโรงงานอุตสาหกรรมล่าสุด ทำให้ถูกต้อง ถูกกฎหมาย สบายใจกว่า

มาตรฐานน้ำทิ้งโรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ได้มาตรฐาน

น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นน้ำทิ้งที่เต็มไปด้วยสิ่งสกปรก ของเสีย และสารเคมีต่าง ๆ เจือปนอยู่ด้วยมากมาย ซึ่งแต่ละโรงงานอุตสาหกรรมก็จะมีสิ่งปฏิกูลที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทของอุตสาหกรรมนั้นๆ เมื่อต้องการปล่อยน้ำจากโรงงานอุตสาหกรรมทิ้ง จึงไม่สามารถปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้เลย จำเป็นต้องนำไปปรับสภาพให้น้ำสะอาดมากขึ้น เพื่อป้องกันน้ำเสียสู่สาธารณะ และเป็นปัญหาใหญ่ตามมาในภายหลัง ตามข้อบังคับของกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้กำหนดเอาไว้ว่า “น้ำเสียที่ปล่อยสู่ธรรมชาติจะต้องมีอุณหภูมิไม่เกิน 40 ํC และมีค่า BOD ไม่เกิน 20 mg/L ขึ้นอยู่กับประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม” โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  • มาตรา 119 ทวิ : ห้ามไม่ให้ผู้ใดเท ทิ้ง หรือทำด้วยประการใดๆ ให้น้ำมันและเคมีภัณฑ์หรือสิ่งใดๆ ลงในแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ หรือทะเลสาบ ที่ประชาชนใช้ร่วมกันหรือทะเลภายในน่านน้ำไทย อันเป็นเหตุให้เกิดเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมหรือเป็นอันตรายต่อการเดินเรือ ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และต้องชดใช้เงินค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในการแก้ไขสิ่งเป็นพิษ หรือชดใช้ค่าเสียหายเหล่านั้นด้วย
  • มาตรา 14 : ห้ามเทหรือทิ้งสิ่งใดๆ หรือระบายสิ่งที่ทำให้น้ำโสโครก ลงในคลองประปา คลองรับน้ำ หรือคลองส่งน้ำ
  • มาตรา 15 : ห้ามทิ้งซากสัตว์ ขยะมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลลงในเขตคลองประปา คลองรับน้ำ คลองส่งน้ำ ผู้ใดฝ่าฝืนตามมาตรา 14 และ 15 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เอกสารประกาศจากกระทรงอุตสาหกรรมเรื่องค่ามาตรฐานน้ำโรงงาน

เอกสารประกาศจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กําหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการอุตสาหกรรม

ระบบน้ำอุตสาหกรรม

ออกแบบการบำบัดน้ำเสียให้ตรงกับมาตรฐานน้ำทิ้งโรงงาน ด้วยบริษัทที่ได้มาตรฐาน

สำหรับการออกแบบการบำบัดน้ำเสียให้ตรงกับมาตรฐานน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม ต้องใช้ข้อมูลในการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียด้วยกันทั้งหมด 3 ข้อ คือ การหาปริมาณน้ำเสียให้ชัด ตรวจสอบคุณภาพของน้ำเสีย และการจัดการพื้นที่ในระบบบำบัดน้ำเสียให้คุ้มค่า ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1.หาปริมาณน้ำเสียให้ชัดเจน

การหาปริมาณน้ำเสียให้ชัดเจน ถือเป็นอันดับแรกในการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเราต้องทราบปริมาณน้ำเสียที่ปล่อยออกมาก่อนว่ามีจำนวนเท่าไหร่ จะได้สามารถนำข้อมูลไปออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียให้ตรงกับปริมาณที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละวัน ปกติน้ำเสียมาจาก 2 แหล่ง คือ น้ำเสียที่เกิดจากห้องน้ำ และน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีวิธีการคิดที่ต่างกัน ดังนี้

  • น้ำเสียที่เกิดจากห้องน้ำ : หลักการคือ หนึ่งคนจะใช้น้ำทิ้ง 200 ลิตร/ วัน ให้นำจำนวนคนทั้งหมดมาคูณกับ 200 เช่น มี 50 คน ปริมาณน้ำเสียทั้งหมดจะเป็น 50 x 200 = 10,000 ลิตร/วัน
  • น้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม : หลักการคือ อัตราการใช้น้ำประปา x 80% เช่น มีการใช้น้ำประปา 600 ลูกบาศก์เมตร/เดือน ปริมาณน้ำเสียที่ใช้ในการคำนวณคือ ประมาณน้ำเสีย 600 x 80% = 480 ลูกบาศก์เมตร/เดือน หรือ 16 ลูกบาศก์เมตร/วัน (เอา 30 หาร)

2.ตรวจสอบคุณภาพของน้ำเสีย

หลังจากหาปริมาณน้ำเสียต่อวันได้แล้ว ต่อมาก็ต้องมาทำความรู้จักกับน้ำเสียด้วยว่ามีลักษณะอย่างไร มีค่าพารามิเตอร์มากน้อยแค่ไหน จะได้สามารถออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียได้อย่างตรงจุด ตอบโจทย์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีค่าน้ำทิ้งที่ต้องทราบ ดังนี้

  • ค่า BOD
  • ค่า COD
  • ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)
  • ค่าของแข็งละลายน้ำ (TDS)
  • ค่าของแข็งแขวนลอย (SS)
  • ค่าสารเคมีที่อยู่ในกระบวนการผลิต เช่น Zn, Ni, Cr เป็นต้น
  • ค่าไขมัน น้ำมัน (Grease Oil)

การตรวจวัดคุณภาพของน้ำเสีย เป็นเรื่องที่สำคัญมาก จึงจำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียให้ เพราะสามารถออกแบบและหาเครื่องมือมาใช้ในการปรับสภาพน้ำเสียให้ไปในทิศทางที่ต้องการได้ และมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียสูงสุด

3.การจัดการพื้นที่ในระบบบำบัดน้ำเสียให้คุ้มค่า

ในขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนของการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียให้สอดคล้องกับพื้นที่จริง ส่วนไหนที่จำเป็นหรือสามารถนำลงใต้ดินได้ให้นำลงใต้ดิน เพื่อประหยัดพื้นที่ และทำให้น้ำไหลสู่ถังรองรับที่อยู่ในใต้ดินได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับใครที่ต้องการออกแบบน้ำเสียให้ตรงกับมาตรฐานน้ำทิ้งโรงงาน จำเป็นต้องมองหาบริษัทรับออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานมาตรฐาน เพราะมีประสบการณ์ มีวิศวกร และมีความรู้ที่เชี่ยวชาญมากกว่า ทำให้ระบบน้ำออกมามีมาตรฐาน ปลอดภัย ถูกกฎหมาย ไร้ความกังวล