น้ำกร่อยคืออะไร น้ำกร่อย คือ น้ำที่มีความเค็มปานกลาง ซึ่งเกิดจากการผสมระหว่างน้ำจืดและน้ำเค็ม สามารถพบน้ำกร่อยได้ง่ายตามแม่น้ำหรือคลองที่ไหลมาบรรจบกับน้ำทะเล เช่น ปากแม่น้ำหรือพื้นที่ใกล้ชายฝั่งทะเล โดยน้ำกร่อยจะมีค่าความเค็มอยู่ระหว่าง 0.5-30 ppt ขึ้นอยู่กับปริมาณมาผสมของน้ำจืดและน้ำเค็ม ซึ่งน้ำทะเลจะมีค่าความเป็นด่างอ่อน ๆ อยู่ที่ pH ประมาณ 7.3-8.5 หากผู้อาศัยบริเวณใกล้เคียงนำน้ำมาใช้โดยที่ไม่ผ่านการกรองหรือบำบัดก็จะพบว่า น้ำประปากร่อย เมื่อนำมาใช้ดื่มจะรู้สึกกร่อย ๆ และมีความเค็มหรือเหนียวกว่าน้ำทั่วไป เรียกได้ว่าเป็นน้ำที่ไม่เหมาะสำหรับการดื่มหรือใช้งาน โดยที่ยังไม่ผ่านการกรองหรือปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น น้ำกร่อยใช้อุปโภค บริโภคได้ไหม น้ำกร่อย ไม่เหมาะสำหรับการใช้บริโภคโดยตรง เพราะน้ำกร่อยมีความเค็มสูงเกินกว่าที่ร่างกายของมนุษย์จะรับได้ หากดื่มก็จะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมในปริมาณที่มากเกินไปและส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายอย่างแน่นอน แต่หากจำเป็นต้องใช้น้ำกร่อยเพื่อบริโภคจริง ๆ แนะนำให้นำมาบำบัดหรือกรองน้ำกร่อยก่อน เพื่อให้ได้น้ำที่บริสุทธิ์ อยู่ในเกณฑ์ที่ดื่มได้ นอกจากนี้น้ำกร่อยก็ยังสามารถใช้ในงานบางกรณีได้ เช่น ล้างถนน รดน้ำต้นไม้ (เฉพาะพืชที่ทนเค็มได้) หรือการทำระบบความเย็นในอุตสาหกรรม รวมถึงการเลี้ยงสัตว์น้ำที่เหมาะสมกับน้ำกร่อย เช่น กุ้ง ปลากะพงขาว ปลากะพงแดง ปลากระบอก ปลาตะกรับ ฯลฯ วิธีแก้น้ำกร่อย แก้ปัญหาน้ำกร่อยภายในชุมชน สำหรับปัญหาน้ำกร่อยภายในเขตชุมชนเป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ง่าย เมื่อสูบน้ำขึ้นมาใช้งานอาจมีน้ำกร่อยผสมไปด้วย หากนำไปใช้อุปโภค […]
Category Archives: สาระน่ารู้
น้ำบาดาล น้ำบาดาลคือ น้ำที่อยู่ใต้พื้นดินและสะสมอยู่ในชั้นหินหรือชั้นดินที่มีความสามารถในการกักเก็บน้ำได้ดี เรียกว่า ชั้นหินอุ้มน้ำ (Aquifer) โดยน้ำบาดาลเกิดขึ้นจากน้ำฝนหรือน้ำผิวดินที่ไหลซึมผ่านชั้นดินและหิน ลึกลงไปใต้ดินหลายเมตรหรือหลายกิโลเมตร ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่บริเวณนั้น ๆ ซึ่งน้ำบาดาลถือเป็นแหล่งน้ำที่มีประโยชน์ในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำเป็นอย่างมากด้วยนั่นเอง แหล่งน้ำใต้ดินมีอะไรบ้าง เชื่อว่ามีหลายคนสงสัยว่า แหล่งน้ำใต้ดินมีอะไรบ้าง และน้ำใต้ดินมีกี่ประเภท โดยต้องบอกเลยว่าน้ำใต้ดินสามารถแบ่งออกได้ 2 อาณาเขตหลัก ๆ คือ 1.เขตอิ่มอากาศ (Unsaturated Zone) เขตที่ปริมาณน้ำใต้ดินมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มักแปรผันตามฤดูกาล ทำให้เขตอิ่มอากาศจัดเป็นประเภทชั้นหินอุ้มน้ำแบบปิด ที่อยู่ลึกลงไปจากผิวดินไม่มากนัก โดยเขตอิ่มอากาศสามารถแบ่งออกเป็น 3 เขตย่อยได้ ดังนี้ 2.เขตอิ่มน้ำ (Saturated Zone) เป็นเขตของน้ำบาดาลที่แท้จริง ซึ่งเป็นเขตที่อยู่ลึกลงไปจากเขตอิ่มอากาศ ใต้ดินที่รูพรุนในชั้นดินหรือชั้นหินเต็มไปด้วยน้ำทั้งหมด ไม่มีอากาศอยู่ในช่องว่างเลย จึงถูกเรียกว่าน้ำใต้ดิน ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญของแหล่งน้ำใต้ดินที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง โดยน้ำบาดาลจะถูกกักเก็บและไหลเวียนอยู่ภายในชั้นหินที่เรียกว่า ชั้นหินอุ้มน้ำ ซึ่งแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้ น้ำบาดาลมาจากไหน สำหรับคำถาม น้ำบาดาลมาจากไหน เชื่อว่าเป็นคำถามที่หลายคนสงสัยกันไม่น้อย ซึ่งต้องบอกเลยว่าน้ำบาดาลมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติหลายแห่ง เช่น น้ำฝน น้ำค้าง ลูกเห็บ […]
น้ำเสียจากฟาร์มสุกร น้ำเสียจากฟาร์มสุกร เป็นน้ำที่มีความสกปรกสูงมาก ๆ เพราะเป็นน้ำที่เกิดขึ้นจากการล้างทำความสะอาดโรงเรือนหมูที่มีทั้งน้ำปัสสาวะและอุจจาระของสุกร ทำให้มีปริมาณของน้ำเสียทั้งอินทรีย์และอนินทรีย์สูงและอาจมีผลกระทบต่อดิน น้ำ และอากาศหากไม่ได้รับการจัดการที่เหมาะสม ซึ่งปกติน้ำเสียที่เกิดจากการเลี้ยงสุกรขุน จะมีความสกปรกมากกว่าการเลี้ยงสุกรแบบพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ โดยมีค่า BOD เฉลี่ยอยู่ที่ 1,500-3,000 มิลลิกรัม/ลิตร หากไม่เก็บมูลของสุกรออกก่อนค่า BOD ก็อาจจะสูงถึง 7,000-10,000 มิลลิกรัม/ลิตร แต่หากเก็บมูลหมูออกก่อนล้างฟาร์มค่า BOD ที่พบก็จะต่ำกว่า 1,000/ลิตร เราจึงจำเป็นต้องบำบัดน้ำเสียให้ได้มาตรฐานน้ำทิ้งก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติ โดยต้องเลือกระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมกับปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นในฟาร์ม บทความนี้จึงจะพาไปทำความรู้จักกับระบบบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกรให้มากขึ้น พร้อมกับบอกประโยชน์ของการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มหมูก่อนปล่อยลงสู่แหล่งรับน้ำธรรมชาติ ระบบบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกร การบำบัดน้ำเสียฟาร์มหมูแบบถังเกรอะ-ถังกรองไร้อากาศ เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะกับฟาร์มขนาดเล็กที่ต้องการกำจัดน้ำเสียที่มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง โดยองค์ประกอบของระบบบำบัดน้ำเสียประเภทนี้ประกอบไปด้วย ถังเกรอะ ที่ทำหน้าที่แยกของแข็งออกจากของเหลว ถังกรองไร้อากาศ ช่วยลดค่า BOD และ COD ถังแยกตะกอนหนัก ทำหน้าที่แยกตะกอนหนัก เช่น ดิน ทราย และของแข็งอนินทรีย์จากน้ำเสีย ส่วนบ่อผึ่ง ทำหน้าที่ในการบำบัดขั้นตอนสุดท้ายด้วยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์และการเติมออกซิเจนจากธรรมชาติ ด้วยลดกลิ่นเหม็น และทำให้น้ำเสียมีคุณภาพที่ดีมากขึ้น เหมาะสำหรับการปล่อยลงสู่ธรรมชาติ ประโยชน์จากการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกรก่อนปล่อยลงสู่ธรรมชาติ 1.ปกป้องระบบนิเวศและแหล่งน้ำธรรมชาติ การบำบัดน้ำเสียในฟาร์มก่อนปล่อยลงสู่ธรรมชาติ ช่วยลดการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ […]
ค่า pH คือ คือค่าที่บอกถึงระดับความเป็นกรดหรือเบสของสารละลายในน้ำ สามารถวัดได้จากความเข้มข้นของไฮโดรเนียม (H3O+) ไอออนในสารละลายที่เป็นน้ำ โดยจะมีช่วงค่าตั้งแต่ 0-14 หากมีค่าphของน้ำต่ำกว่า 7 จะมีลักษณะเป็นกรด เช่น น้ำมะนาว น้ำส้มสายชู ส่วนค่าphที่ได้มากกว่า 7 ก็จะมีลักษณะเป็นเบส เช่น สบู่ น้ำยาทำความสะอาด และสารละลายที่มีค่า ph เท่ากับ 7 มีค่าเป็นกลาง เช่น น้ำบริสุทธิ์ วิธีวัดค่า pH 1.แถบทดสอบค่า pH การใช้แถบทดสอบวัดค่าphน้ำ เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกสำหรับการตรวจสอบความเป็นกรดและเบสของสารละลาย เพราะเป็นกระดาษที่ถูกเคลือบด้วยสารเคมีชนิดพิเศษที่สามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อสัมผัสกับสารละลายที่มีค่าความเป็นกรดและเบส โดยการเปลี่ยนสีของแถบทดสอบจะขึ้นอยู่กับค่า pH ของน้ำ ทำให้สามารถประเมินค่าความเป็นกรดและเบสได้อย่างรวดเร็ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการวัดค่า pH ด้วยแถบทดสอบก็ไม่ได้มีความแม่นยำที่สูงมากนัก จึงเหมาะสำหรับการตรวจสอบแบบคร่าว ๆ มากกว่านั่นเอง 2.เครื่องวัดค่า pH เครื่องวัดค่า pH เป็นอุปกรณ์ที่สามารถวัดค่าความเป็นกรดและเบสของน้ำได้อย่างแม่นยำ โดยจะวัดจากค่าความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนในสารละลาย ซึ่งเครื่องวัดค่า pH เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น […]
น้ำด่างคืออะไร น้ำด่าง หรือ น้ำอัลคาไลน์คือ น้ำที่มีค่าความเป็นด่างหรือมีค่า pH ประมาณ 8-9 ซึ่งสูงกว่าน้ำดื่มทั่ว ๆ ไป และมีแร่ธาตุผสมอยู่ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม โพแทสเซียม ทำให้น้ำด่างมีรสชาติที่ขมเล็กน้อย โดยค่าความเป็นด่างในน้ำจะช่วยปรับสมดุลความเป็นกรดในร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมแร่ธาตุต่าง ๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น ประโยชน์ของน้ำด่าง น้ำด่างประโยชน์ของน้ำประเภทนี้ มีข้อดีเยอะมาก ๆ ดังนี้ หากต้องการดื่มน้ำด่างให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด ควรดื่มให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ควรดื่มน้ำด่างขณะออกกำลังกายหรือหลังจากการออกกำลังกาย เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำและแร่ธาตุต่าง ๆ รวมถึงควรดื่มให้เป็นเวลาและน้ำด่างที่ใช้ดื่มต้องได้มาตรฐานด้วย น้ำด่างมาจากไหน น้ำด่างคือน้ำที่เกิดขึ้นได้จาก 2 แหล่ง คือ น้ำด่างจากธรรมชาติ ที่มีน้ำไหลผ่านแร่ธาตุหรือชั้นหินปูน และน้ำด่างจากเครื่องกรองน้ำ ที่ใช้เทคนิคและกระบวนการต่าง ๆ ปรับสภาพน้ำให้มีค่าความเป็นด่างสูงขึ้น น้ำด่างจากธรรมชาติ น้ำด่างจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นน้ำที่มีค่า pH สูงว่าน้ำปกติทั่วไป และเกิดขึ้นเองในธรรมชาติโดยไม่มีการปรุงแต่งหรือเพิ่มปริมาณแร่ธาตุลงไปในน้ำ โดยน้ำด่างจากแหล่งน้ำธรรมชาติมีแหล่งกำเนิดมาจากหลายพื้นที่ เช่น […]
เครื่องกรองน้ำ 5 ขั้นตอนคืออะไร เครื่องกรองน้ำ 5 ขั้นตอน คือ ระบบกรองน้ำที่ถูกออกแบบมาเพื่อปรับปรุงคุณภาพของน้ำให้ดีขึ้น เหมาะสำหรับใช้อุปโภค บริโภค ซึ่งมีกระบวนการกรองหลายระดับเพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ในน้ำ เช่น ตะกอน คลอรีน สารเคมี โลหะหนัก แบคทีเรีย ฯลฯ การใช้เครื่องกรองน้ำแบบ 5 ขั้นตอน จึงทำให้ได้น้ำที่มีคุณภาพ ความสะอาด ปลอดภัย และเหมาะสำหรับการใช้ดื่ม แถมกระบวนการกรองหลายขั้นตอนยังทำให้มั่นใจได้ด้วยว่าจะได้น้ำสะอาดและบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นอีกด้วย เครื่องกรองน้ำ 5 ขั้นตอนมีขั้นตอนอะไรบ้าง ขั้นตอนที่ 1 การกรองหยาบ สำหรับขั้นตอนแรกจะเป็นการกรองหยาบ เพื่อนำเอาสิ่งสกปรกต่าง ๆ เช่น เศษฝุ่น ตะกอน ความขุ่น สารแขวนลอยออกจากน้ำ โดยการกรองหยาบสามารถใช้ไส้กรองได้หลากหลาย เช่น ไส้กรอง PP, ไส้กรองเชือก, ไส้กรองจีบ หรือไส้กรอง Absolute PP ขั้นตอนที่ 2 การกรองกลิ่น สี […]
บ่อปรับเสถียรคือ บ่อปรับเสถียรคือ ระบบบำบัดน้ำเสียประเภทหนึ่ง ที่อาศัยธรรมชาติช่วยบำบัดน้ำเสีย โดยใช้กระบวนการทางชีวภาพ เพื่อกำจัดสารอินทรีย์และสารพิษต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายในน้ำเสีย ใช้การทำงานของจุลินทรีย์และพืชต่าง ๆ เช่น แบคทีเรียและสาหร่าย ในการย่อยสลายของเสียและลดปริมาณมลพิษในน้ำเสีย ทำให้น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วมีสภาพที่ดีมากขึ้น แถมระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียรก็ยังเป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่ดีมาก ๆ เพราะมีการใช้มากที่สุดในประเทศไทยถึง 45% ของระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนทั้งหมดในประเทศไทย ที่จัดอยู่ในประเภทระบบบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางชีววิทยาแบบใช้ออกซิเจน หลักการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียบ่อปรับเสถียร สำหรับหลักการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียรstabilizationpond จะอาศัยการทำงานของธรรมชาติและกระบวนการชีวภาพในการบำบัดน้ำเสีย โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ 1.ระบบบ่อปรับเสถียรแบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Pond) สำหรับระบบบ่อปรับเสถียรแบบไม่ใช้อากาศ เป็นบ่อบำบัดน้ำเสียที่ใช้จุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจนเป็นในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย เป็นกระบวนการที่ไม่ใช้อากาศทำงาน จึงเป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่มีเหมาะกับน้ำเสียที่มีสารอินทรีย์เข้มข้นสูง เช่น น้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ โดยปกติระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียรจะมีความลึกประมาณ 2-5 เมตร เพื่อทำให้เกิดสภาวะไม่ใช้อากาศได้ดี ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่ประหยัดพลังงานมาก ๆ แต่กลับกันก็ต้องใช้ระยะเวลาในการบำบัดน้ำเสียมากกว่าบ่อเติมอากาศด้วยเช่นกัน 2.ระบบบ่อปรับเสถียรแบบกึ่งใช้อากาศ (Facultative Pond) ระบบบําบัดน้ําเสียบ่อปรับเสถียรแบบกึ่งใช้อากาศ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนบนเป็นแบบใช้อากาศ เป็นส่วนที่อยู่ใกล้กับผิวน้ำ […]
บ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon หรือ AL) บ่อเติมอากาศคือ ระบบบำบัดน้ำเสียรูปแบบหนึ่ง ที่อาศัยการเติมออกซิเจนให้กับน้ำด้วยเครื่อง Aerator หรือเครื่องเติมอากาศที่หลายคนรู้จัก ซึ่งเครื่องนี้สามารถติดตั้งได้ทั้งแบบทุ่นลอยและแบบยึดติดอยู่กับแท่น โดยระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศนั้น ติดตั้งเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้น้ำมีปริมาณที่เพียงพอต่อจุลินทรีย์ที่จะนำไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้เร็วขึ้นกว่าการปล่อยให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ การทำระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ จึงสามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยลดความสกปรกในน้ำเสียในรูปของค่า BOD ได้ประมาณร้อยละ 80-95 เลยทีเดียว แต่ทั้งนี้ทั้งการทำระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ ก็จำเป็นต้องออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศให้มีประสิทธิภาพ สามารถทำให้เกิดการผสมกันของตะกอนจุลินทรีย์ออกซิเจนละลายในน้ำและน้ำเสียได้ดี ควรมีบ่อสำหรับบ่มและบ่อเติมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อ ที่สามารถควบคุมอัตราการไหลของน้ำภายในบ่อบ่มและระยะเวลาในการกักเก็บที่เหมาะสม เพื่อไม่ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาในภายหลัง โดยบทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับระบบบำบัดน้ำเสียแบบสระเติมอากาศให้มากขึ้น ว่ามีข้อดีและข้อเสียอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ ข้อดีข้อเสียของระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ ข้อดีของระบบบ่อเติมอากาศ ข้อเสียระบบบ่อเติมอากาศ เลือกระบบบำบัดน้ำเสียด้วยบริษัทที่เชี่ยวชาญ เนื่องจากปัจจุบันมีบริษัทให้บริการทำระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศอยู่หลายแห่ง การเลือกติดตั้งระบบบ่อเติมอากาศกับบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือจึงเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ ซึ่ง Mitrwater ถือเป็นบริษัทที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะมีบริการติดตั้งระบบน้ำเสียโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถทำงานได้อย่างมืออาชีพ ทำให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถติดตั้งระบบบ่อเติมอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง สำหรับใครที่สนใจติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศแต่ไม่รู้จะเลือกใช้บริการที่ไหนดี ก็สามารถทักเข้ามาสอบถามข้อมูลเติมเพิ่มหรือขอคำแนะนำ ปรึกษากับเราได้เลย และนอกจากนี้ก็หวังว่าบทความที่นำมาเสนอเกี่ยวกับระบบบ่อเติมอากาศจะมีประโยชน์กับคนที่กำลังสนใจติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียบ่อเติมอากาศได้ไม่มากก็น้อย
น้ำ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ๆ ต่อสิ่งมีชีวิต ต้องใช้ทั้งอุปโภค บริโภค ทำให้ต้องมีการบำบัดน้ำเสียก่อนนำไปใช้งาน เพื่อความปลอดภัย ยิ่งเป็นคอนโดหลายคนอาจจะพบปัญหาน้ำไหลช้า น้ำไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อีกทั้งยังมีปัญหาน้ำอีกมากมาย ดังนั้นบทความนี้จะพาไปรู้จักกับระบบบำบัดน้ำเสียคอนโดให้มากขึ้น พร้อมกับบอกขั้นตอนระบบบำบัดน้ำเสียในคอนโด และเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการระบบบำบัดน้ำเสียในคอนโด จะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย ระบบบำบัดน้ำเสียคอนโด ระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดมิเนียม มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จะต้องมีการบำบัดน้ำเสียที่มาจากห้องส้วมของสมาชิกในคอนโดนั้น ๆ และต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโดโดยเฉพาะ เพื่อบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้กลายเป็นน้ำดี ก่อนจะปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะ ไม่ให้เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม โดยระบบบำบัดน้ำเสียคอนโดทุก ๆ แห่ง จะใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ เติมอากาศลงไปในบ่อบำบัดน้ำเสีย ทำให้ปริมาณออกซิเจนมากพอที่จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนไปใช้ในการขยายตัวและย่อยสลายของเสียต่าง ๆ ในน้ำเสีย ขั้นตอนระบบบำบัดน้ำเสียในคอนโด สำหรับขั้นตอนของระบบบำบัดน้ำเสียในคอนโดแบบเติมอากาศ (AS) ทั่ว ๆ ไป หลัก ๆ จะมีอยู่ด้วยกันอย่างน้อย 3 บ่อขึ้นไป ได้แก่ แต่บ่อที่ขาดไม่ได้ในการทำระบบบำบัดน้ำเสียในคอนโด ก็คือ บ่อเติมอากาศ เพราะเป็นจุดสำคัญของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ซึ่งควรติดตั้งเครื่องเติมอากาศตั้งแต่บ่อที่ 2 เป็นต้นไป สามารถเติมอากาศมากกว่า 1 บ่อได้ […]
อาคารสูง คือ อาคารที่มีบุคคลอาศัยหรือเข้าใช้สอยที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า เช่น โรงแรม อพาร์ทเมนต์ คอนโด ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนที่พักอาศัยอยู่ในอาคารสูงก็คงจะเคยพบเจอกับปัญหาคุณภาพน้ำมาบ้างแล้ว ดังนั้นในบทความนี้จะพาไปรู้จักกับแนวทางการจัดการคุณภาพน้ำในอาคารสูง ระบบปั๊มน้ำและระบบน้ำประปาในอาคารสูงว่ามีอะไรบ้าง แนวทางการจัดการคุณภาพน้ำในอาคารสูง 1.สำรวจสถานที่ตั้งของถังสำรองน้ำ ทำการสำรวจสถานที่ตั้งของถังน้ำสำรอง ซึ่งต้องเป็นพื้นที่ที่มีหลังคาคลุม มีขอบเขตที่ชัดเจน ที่ตั้งถังสำรองต้องสะอาด ไม่มีน้ำขัง สิ่งของไม่วางเกะกะ รกรุงรัง สามารถป้องกันสัตว์นำโรคต่าง ๆ ไม่ให้เข้าไปอาศัย เช่น หมา แมว นก หนู หรือสัตว์เลื้อยคลาน อีกทั้งไม่ถังน้ำสำรองที่ดี ไม่ควรว่างตั้งกับพื้นโดยตรง ควรวางยกระดับขึ้นมาประมาณ 15 เซนติเมตร และมีแสงสว่างที่เพียงพอที่ทำให้เห็นสิ่งผิดปกติภายในถังน้ำสำรองได้ รวมถึงต้องมีการป้องกันไม่ให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณที่ตั้งถังน้ำสำรองด้วย 2.เลือกและดูแลตัวถังน้ำสำรอง สำหรับแนวทางการจัดการคุณภาพน้ำในอาคารสูง ต้องเลือกและดูแลถังสำรองน้ำอยู่เสมอ ตัวถังต้องทำมาจากวัสดุที่ปลอดภัย เหมาะสำหรับบรรจุน้ำ เช่น ถังสแตนเลสไฟเบอร์กลาส พลาสติก เป็นต้น ซึ่งสภาพถังน้ำต้องสะอาด ไม่ชำรุด แตกร้าว และต้องมีฝาปิดให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด พร้อมใช้งานตลอดเวลา นอกจากนี้ก็ควรจะมีช่องสำหรับระบายน้ำทิ้งด้านล่างสุด เพื่อความสะดวก สบาย […]