ค่า pH คือ
คือค่าที่บอกถึงระดับความเป็นกรดหรือเบสของสารละลายในน้ำ สามารถวัดได้จากความเข้มข้นของไฮโดรเนียม (H3O+) ไอออนในสารละลายที่เป็นน้ำ โดยจะมีช่วงค่าตั้งแต่ 0-14
หากมีค่าphของน้ำต่ำกว่า 7 จะมีลักษณะเป็นกรด เช่น น้ำมะนาว น้ำส้มสายชู ส่วนค่าphที่ได้มากกว่า 7 ก็จะมีลักษณะเป็นเบส เช่น สบู่ น้ำยาทำความสะอาด และสารละลายที่มีค่า ph เท่ากับ 7 มีค่าเป็นกลาง เช่น น้ำบริสุทธิ์
วิธีวัดค่า pH
1.แถบทดสอบค่า pH
การใช้แถบทดสอบวัดค่าphน้ำ เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกสำหรับการตรวจสอบความเป็นกรดและเบสของสารละลาย เพราะเป็นกระดาษที่ถูกเคลือบด้วยสารเคมีชนิดพิเศษที่สามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อสัมผัสกับสารละลายที่มีค่าความเป็นกรดและเบส โดยการเปลี่ยนสีของแถบทดสอบจะขึ้นอยู่กับค่า pH ของน้ำ ทำให้สามารถประเมินค่าความเป็นกรดและเบสได้อย่างรวดเร็ว
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการวัดค่า pH ด้วยแถบทดสอบก็ไม่ได้มีความแม่นยำที่สูงมากนัก จึงเหมาะสำหรับการตรวจสอบแบบคร่าว ๆ มากกว่านั่นเอง
2.เครื่องวัดค่า pH
เครื่องวัดค่า pH เป็นอุปกรณ์ที่สามารถวัดค่าความเป็นกรดและเบสของน้ำได้อย่างแม่นยำ โดยจะวัดจากค่าความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนในสารละลาย ซึ่งเครื่องวัดค่า pH เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น ในห้องปฏิบัติการ อุตสาหกรรม หรือการวัดคุณภาพน้ำ
3.การไทเทรต (Tatration)
การหาค่า pH ด้วยการไทเทรต เป็นการหาปริมาณความเข้มข้นของกรดหรือเบส ซึ่งจำเป็นต้องทำการตรวจสอบค่าความเข้มข้นสัมพัทธ์ของสารตั้งต้นทั้งสองชนิด
โดยการหาค่า pH ด้วยวิธีการนี้เหมาะสำหรับการใช้งานในห้องปฏิบัติการที่มีผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และไม่เหมาะกับอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้วยนั่นเอง
วิธีการปรับค่า pH
สำหรับการปรับค่า pH ขึ้นอยู่กับคุณว่าต้องการลดหรือเพิ่มค่า pH ของสารละลาย โดยมีวิธีการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ดังนี้
- ปรับค่า pH ให้ต่ำลง (เพิ่มความเป็นกรด) ให้เติมสารละลายกรด เช่น กรดโฮโดรคลอริก, กรดซัลฟิวริก ฯลฯ เติมลงในสารละลายที่ต้องการปรับค่า pH ทีละน้อย คนให้ทั่วถึง และวัดค่า หากยังไม่ถึงเป้าหมาย ให้เติมเพิ่มอย่างระมัดระวัง
- ปรับค่า pH ให้สูงขึ้น (เพิ่มความเป็นเบส) ด้วยการเติมสารละลายเบส เช่น โซเดียมคาร์บอเนต, โซเดียมโฮดรอกไซด์ ฯลฯ ลงในน้ำทีละน้อย คนให้ทั่ว และวัดค่า pH จนกว่าจะได้ค่า pH ที่ต้องการ
- ควบคุมค่า pH ให้คงที่ ให้ใช้สารละลายบัฟเฟอร์ เพื่อรักษาค่า pH ให้คงที่ ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานในห้องปฏิบัติการ ที่ต้องการความแม่นยำสูง
ตัวอย่างค่า pH เท่าไหร่เหมาะกับการทำอะไร
ค่า pH น้ำดื่ม
สำหรับค่าphน้ำดื่ม ควรอยู่ช่วง 6.5-8.5 เพราะถ้าน้ำดื่มมีค่า pH ต่ำกว่า 6.5 อาจเป็นกรดและส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่หากมีค่า pH ที่สูงเกิด 8.5 ก็จะทำให้น้ำที่รสชาติที่ขม ซึ่งเกิดการตะกอน และแร่ธาตุที่เจือปนในน้ำ
ค่า pH น้ำประปา
ค่าphของน้ำประปา ควรอยู่ในช่วง 6.5-8.5 เช่นเดียวกับน้ำดื่ม เพราะน้ำประปาที่มีค่า pH ที่เหมาะสม จะช่วยป้องกันการกัดกร่อนในระบบท่อส่งน้ำ หากมีค่า pH ที่ต่ำเกินไป ก็อาจทำให้เกิดสนิมในท่อ แต่ถ้ามีค่า pH ที่สูงเกินไป ก็จะทำให้เกิดการสะสมของแร่ธาตุได้นั่นเอง
ค่า pH ของน้ำเลี้ยงปลา
สำหรับค่าphของน้ำเลี้ยงปลาแบบบ่อเลี้ยง จะมีค่า pH อยู่ในช่วง 6.5-8.0 ซึ่งเหมาะสำหรับเลี้ยงปลาทั่วไป เช่น ปลานิล ปลาทับทิม ปลาดุก
ส่วนแบบตู้ปลาน้ำจืด จะอยู่ในช่วง 6.5-7.5 และตู้ปลาน้ำเค็ม จะอยู่ในช่วง 8.0-8.4 เพราะในตู้ปลามีพื้นที่จำกัด หากมีค่า pH ที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้ปลาตายได้
ค่า pH ของน้ำรดต้นไม้
ค่าphของน้ำรดต้นไม้ ปกติจะอยู่ในช่วง 5.5-7.0 เนื่องจากต้นไม้ส่วนใหญ่สามารถเติบโตได้ดีในดินที่มีความเป็นกรดและเบสอ่อน ๆ แต่หากมีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 ก็อาจทำให้พืชได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ สูงกว่า 7.0 ก็อาจทำให้เกิดการสะสมของแร่ธาตุ ดังนั้นจึงควรอยู่ในช่วง 5.5-7.0 นั่นเอง
สรุป
จะเห็นได้ว่าค่า pH เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ควบคุมในหลายสถานการณ์ ทั้งด้านสุขภาพ การเกษตร และอุตสาหกรรม การตรวจวัดค่า pH และปรับค่าให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ เพราะจะช่วยทำให้น้ำเกิดความสมดุลและมีประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุดนั่นเอง