สารละลาย (solution)
สารละลาย ทุกคนคงเคยได้ยินมาบ่อยโดยเฉพาะสมัยเรียนวิชาเคมี สารละลายและตัวทำละลายคืออะไร สารละลายเคมี เคมีสารละลายเป็นแบบไหน การแบ่งสารละลาย แบ่งออกเป็นกี่ชนิด วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสารละลายและมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสารละลายให้มากขึ้น เชื่อว่าเรื่องนี้หลายคนอาจไม่รู้มาก่อนหรือยังคงสับสน เพื่อให้เกิดความรู้และเกิดความเข้าใจ โดยหวังว่าเนื้อหาสาระดังต่อไปนี้จะมีประโยชน์กับทุกๆ คนเป็นอย่างมากจะน่าสนใจแค่ไหนไปดูกันเลย
: บทความที่น่าสนใจ
👉 สารคอลลอยด์ ( Colloid ) คืออะไร วิธีการแยก คอลลอยด์ ทำได้อย่างไร
👉 สารแขวนลอย คืออะไร หากพบเจอสารแขวนลอยเจือปนในระบบน้ำจะมีความอันตรายหรือไม่
สารละลาย คืออะไร
สารละลาย คือ สารที่มีเนื้อเดียวกันโดยมีสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน ประกอบด้วยตัวถูกละลายและตัวทำละลาย ในกรณีที่ตัวถูกสารละลายและตัวทำละลาย มีสถานะเหมือนกัน สารละลายที่มีปริมาณมากกว่าจะเป็นตัวทำละลาย ซึ่งถ้าหากสารทั้งสองมีสถานะที่แตกต่างกันออกไป สารที่มีสถานะเดียวกันกับสารละลายจะเป็นตัวทำละลาย หากจะอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น สารละลายคือสารผสมที่เป็นเนื้อเดียวกันเกิดจากการรวมตัวของสารบริสุทธิ์ 2 ชนิดขึ้นไป สารที่มีปริมาณมากกว่าจะเป็นตัวทำละลายส่วนสารที่มีปริมาณน้อยกว่าจะเป็นตัวถูกละลายนั่นเอง การผสมกันของสารทั้ง 2 ประเภทจะทำให้เกิดสารละลายเนื้อเดียวที่เกิดขึ้นได้กับทุกสถานะของสสาร
ปัจจัยที่มีผลต่อการละลายของสาร ยกตัวอย่างเช่น ชนิดของสาร ซึ่งชนิดของสารนั้นมีผลต่อการละลาย สารละลายโมเลกุลใหญ่จะสามารถละลายได้ช้ากว่าสารละลายที่มีโมเลกุลเล็ก อุณหภูมิก็เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการละลายของสารเช่นเดียวกันอุณหภูมินั้นมีผลโดยตรง เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นการละลายย่อมเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามจะคงที่ในระดับอุณหภูมิหนึ่ง แตกต่างกันในแต่ละสาร สารละลายบางชนิดอาจละลายได้น้อยเมื่อมีอุณหภูมิเพิ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละลายก๊าซในตัวกลางต่างๆ
ความดันเป็นอีกหนึ่งปัจจัย ความดันมีผลต่อการละลายของสารในทางอ้อมและทางตรง ในทางอ้อมเมื่อความดันเพิ่มขึ้นทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น ความดันลดลงอุณหภูมิจะลดลงเช่นเดียวกัน ความดันมีผลต่อการละลายได้โดยตรง คือเมื่อความดันเพิ่มการละลายของสารในตัวทำละลายจะเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปในน้ำโซดา หากอัดด้วยความดันสูงจะทำให้แก๊สละลายลงในน้ำได้เป็นอย่างดี พร้อมกับปิดฝาขวดเพื่อรักษาความดันเอาไว้ให้คงที่แต่เมื่อความดันลดลงยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราเปิดฝาขวดน้ำโซดาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็จะออกมาได้อย่างง่ายดายนั่นเอง
ตัวทำละลาย (solvent)
ตัวทำละลาย หมายถึง สารที่อยู่ในสถานะของเหลวโดยมีความสามารถละลายสารอีกหนึ่งชนิดได้ที่เป็นตัวถูกละลาย ในสารละลายใดๆ ตัวทำละลายส่วนใหญ่มักจะมีมากกว่าตัวถูกละลาย แต่ก็ไม่เสมอไป ความสามารถในการละลายของสารชนิดใดชนิดหนึ่ง หาได้จากอัตราส่วนระหว่างตัวถูกละลายกับตัวทำละลาย หรือ อัตราส่วนระหว่างตัวถูกละลายกับสารละลาย ในสภาวะที่สารละลายเป็นสารละลายอิ่มตัวจะสามารถบอกความหนาแน่นสูงสุดของสารละลายได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการยกตัวอย่างเช่น อุณหภูมิ ความดัน แรงระหว่างโมเลกุลของตัวทำละลายกับตัวถูกละลาย เป็นต้น
ตัวละลาย (solute)
หนึ่งสารที่ละลายอยู่ในตัวทำละลาย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดเป็นสารละลาย ปริมาณตัวถูกละลายนั้นจะผันแปรไปตามระดับความเข้มข้นที่ต้องการ สำหรับสารละลายเข้มข้นคือสารละลายที่ประกอบไปด้วยตัวละลายในปริมาณมาก มีตัวทำละลายน้อย แต่หากสารละลายประกอบด้วยตัวละลายน้อยแล้วมีตัวทำละลายมากเรียกว่า สารละลายเจือจาง
สารละลาย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ?
สารละลายถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ สารละลายอิ่มตัวและสารละลายไม่อิ่มตัว มาดูกันว่าประเภทของสารละลายทั้ง 2 ประเภทนี้แตกต่างกันอย่างไรบ้าง
1.สารละลายอิ่มตัว ( Saturated Solution )
สารละลายอิ่มตัว หมายถึง สารละลายที่ตัวทำละลายจะไม่สามารถละลายในตัวทำละลายได้อีก เมื่อตัวทำละลายและอุณหภูมินั้นคงที่ อาจเป็นสารละลายอิ่มตัวพอดีหรือสารละลายอิ่มตัวเหลือเฟือก็ได้ หากมีการเพิ่มความร้อนให้กับสารละลายอิ่มตัวเหลือเฟืออีกจะได้สารละลายอิ่มตัวยิ่งยวด
2.สารละลายไม่อิ่มตัว ( Unsaturated Solution )
สารละลายไม่อิ่มตัว เป็นสารละลายที่ตัวทำละลายยังสามารถละลายในตัวทำละลายได้จำแนกออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือสารละลายเข้มข้นและสารละลายเจือจาง
สารละลาย มีกี่ชนิด ?
1.สารละลายของแข็ง
สารละลายที่เป็นของแข็ง หมายถึง สารละลายซึ่งมีตัวทำละลายสถานะเป็นของแข็ง สารละลายของแข็งอาจเป็นสารที่ละลายน้ำได้ ยกตัวอย่างเช่น นาค ทองเหลือง โลหะบัดกรี สัมฤทธิ์ เป็นต้น ยกตัวอย่างอีกแบบให้เข้าใจง่ายขึ้น สารละลายของแข็ง ตัวทำละลายเป็นของแข็ง ตัวถูกละลายอาจเป็นก๊าซ เช่น ก๊าซไฮโดรเจนในโลหะแพลตตินั่ม หรือสารละลายของแข็งที่ตัวทำละลายเป็นของแข็งและตัวถูกละลายเป็นของเหลวเช่น สารละลายตะกั่ว ปรอทในเงิน สารละลายของแข็งที่ตัวทำละลายเป็นของแข็งและตัวถูกละลายเป็นของแข็งเช่นกัน เช่น นากหรือทองคำละลายในทองแดง
2.สารละลายของเหลว
สารละลายของเหลว หมายถึง สารละลายที่มีตัวทำละลายซึ่งสถานะเป็นของเหลว อย่างเช่น น้ำหวาน น้ำเชื่อม น้ำส้มสายชูน้ำอัดลม น้ำเกลือ เป็นต้น อย่างในกรณีที่ตัวทำละลายที่เป็นของเหลว ตัวถูกละลายที่เป็นของเหลวและสารละลายซึ่งเป็นของเหลวเหมือนกัน เช่น สารละลายแอลกอฮอล์ สารละลายแอมโมเนีย สารละลายกรดไฮโดรคลอริก สารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ สารละลายโซเดียมคลอไรด์สารละลายคอปเปอร์ซัลเฟต ตัวทำละลายเป็นของเหลว ตัวถูกละลายเป็นของแข็ง สารละลายเป็นของเหลว เช่น น้ำตาลทรายในน้ำหรือน้ำเชื่อม
3.สารละลายแก็ส
สารละลายแก๊ส หมายถึง สารละลายที่ตัวทำละลายมีสถานะเป็นแก๊ส สารละลายก๊าซ อาทิเช่น ตัวทำละลายคือก๊าซและตัวถูกละลายเป็นก๊าซ นั่นคืออากาศ หากตัวทำละลายเป็นก๊าซ ตัวถูกละลายเป็นของเหลว เช่น ไอน้ำในอากาศ หรือตัวทำละลายเป็นก๊าซตัวถูกละลายเป็นของแข็งเช่นลูกเหม็นระเหยในอากาศ
หวังว่าทุกคนคงได้รู้แล้วว่าสารละลายคืออะไร สารละลายแบ่งสารละลายออกเป็นกี่ชนิด สารละลายมีกี่ประเภท แต่ละชนิดหรือแต่ละประเภทเป็นอย่างไร แตกต่างกันอย่างไรบ้าง หวังว่าเนื้อหาสาระต่างๆ ที่เราเอามาแชร์จะทำให้ทุกคนได้เกิดความรู้และความเข้าใจไม่มากก็น้อย
No block ID is set